Wednesday, March 13, 2013

ธปท.ไม่ห่วงบาทแข็งโป๊ก เชื่อนโยบายการเงินเอาอยู่

ธปท.ไม่ห่วงบาทแข็งโป๊ก เชื่อนโยบายการเงินเอาอยู่
ธปท.ไม่กังวลบาทแข็งโป๊กในรอบ 2 ปี 4 เดือน ชี้ปัจจัยไทยมีข่าวดีด้านเศรษฐกิจ ทั้งการขยายตัว เรตติ้งปรับขึ้น ทำเงินนอกทะลักเข้ามากขึ้น ปัดตอบแทรกแซงตลาด ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนนโยบายทางการเงิน หรือประชุมรอบพิเศษกับ กนง.เมื่อวันที่ 13 มี.ค.2556 นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 29.57 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเย็นวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 2 ปี 4 เดือนว่า เป็นผลมาจากช่วงนี้ประเทศไทยมีข่าวดีหลายข่าวต่อเนื่องกัน ทำให้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทย อาทิ ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวได้ดี การปรับเครดิตของประเทศไทยดีขึ้นของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือฟิทช์ อิบคา และมีโอกาสที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นจะปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อของประเทศได้ ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านไทยกำลังจะมีการเลือกตั้ง และมีความขัดแย้ง เป็นต้น ทั้งนี้ ธปท.กำลังประเมินว่า ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นนี้ยังคงสอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจประเทศหรือไม่ เพราะเพิ่งแข็งค่าแรงๆ เพียงวันเดียว และการแข็งค่าขึ้นมีเหตุปัจจัยที่เข้าใจได้อยู่ ธปท.ยังไม่ได้กังวล หรือตกใจกับสถานการณ์ดังกล่าว เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจ และตลาดการเงินโลกไม่ปกติ มีความผันผวนสูงอยู่แล้ว และคงไม่ถึงขั้นที่ ธปท.จะต้องเปลี่ยนนโยบายในการดูแลค่าเงินบาท เพียงแต่ต้องคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ดังนั้นนโยบายเดิมในการสร้างความสมดุลของเงินทุนเคลื่อนย้าย สร้างความสมดุลของกลไกตลาดก็ยังใช้ได้อยู่ และยืดหยุ่นได้พอประมาณอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย หรือเงินทุนเคลื่อนย้าย ทาง ธปท.พยายามให้เงินเข้าและออกให้สมดุลกัน และให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจไทยมากที่สุด สำหรับการแข็งค่าของเงินบาทแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี เมื่อวันที่ 12 มี.ค.เป็นเพราะแรงซื้อเข้ามาทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนทิศ ซึ่งเรื่องการแทรกแซงตลาดตามปกติจะไม่พูดหรือบอกกันในเรื่องนี้ และเป็นเรื่องตามปกติที่ ธปท.จะรายงานผ่านอีเมล์ต่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ให้รับทราบ และไม่ได้นัดประชุมอะไรพิเศษ หรือประชุมก่อนกำหนดเดิมแต่อย่างใด ยังคงเป็นวันที่ 3 เม.ย.เช่นเดิม

มาร์ค สับจำนำข้าว รัฐให้ชาวนาไปตายดาบหน้า

มาร์ค สับจำนำข้าว รัฐให้ชาวนาไปตายดาบหน้า
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สับเละนโยบายจำนำข้าว ชี้ รัฐกำลังปล่อยให้ชาวนาไปตายเอาดาบหน้า หลังมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขกะทันหัน... นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อ้างว่าไม่ได้มอบหมายให้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ในการระบายข้าว ขณะที่นายนิวัฒน์ธำรง กลับระบุเองว่า นายกฯเป็นผู้มอบหมายว่า เป็นเรื่องที่สร้างความสับสน จึงขอให้นายกฯ สร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) จะบอกว่า ไม่รู้ว่าในสต๊อกมีข้าวเท่าไหร่ บอกแค่ว่าจะเดินหน้าต่อ จะกลายเป็นความไม่รับผิดชอบตอบหน้าที่ของตนเอง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อความเชื่อถือและความสำเร็จของนโยบาย ดังนั้น นายกฯจะต้องชี้แจง โดยเริ่มต้นจากการยอมรับความจริงก่อนว่า นโยบายนี้ มีปัญหาและไปทบทวนว่าสิ่งที่เคยอ้างว่า โครงการนี้จะไม่ขาดทุน สุดท้ายวันนี้ มีปัญหาแล้วก็ต้องยอมรับ จึงจะตั้งต้นไปสู่การด้านนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์และแก้ปัญหาได้ แต่ถ้าไม่ยอมรับความจริง ก็ไม่มีทางที่นโยบายจะประสบความสำเร็จ  ตอกฝาโลง จำนำข้าวรัฐ ไปตายดาบหน้า นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่คณะกรรมการนโยบายข้าว กระทรวงพาณิชย์ (กนข.) มีมติเพิ่มหลักเกณฑ์การรับจำนำข้าวว่าต้องเป็นข้าวที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 100 วันนั้น หากจะมีการเพิ่มหลักเกณฑ์ต้องแจ้งกับเกษตรกรล่วงหน้า ตั้งแต่ต้นฤดูกาล ไม่ใช่มาพูดในช่วงที่เกษตรกร มีการปลูกข้าวไปแล้ว เพราะจะมีปัญหาตามมา เพราะเกษตรกรคาดหวังว่าจะนำข้าวเข้าสู่โครงการของรัฐบาล ตามที่มีการหาเสียงไว้ จะต้องเป็นความรับผิดชอบทางการเมืองของรัฐบาล ที่หาเสียงแล้วไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งหากมีการทบทวนด้วยเหตุผลและอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ก็ยังพอรับได้ แต่ขณะนี้ รัฐบาลทำเรื่องนี้เหมือนไปตายเอาดาบหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงิน ที่จะใช้ในโครงการ เรื่องที่เก็บข้าวก็ยังไม่ชัดเจน และยังพยายามแก้หลักเกณฑ์บางอย่างโดยไม่บอกเกษตรกรล่วงหน้า  ลั่น ไม่ต้องกลัวแค่ 3 วันอภิปรายผลงานรัฐ นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ไม่ทราบว่า ปัญหาจำนำข้าวเป็นหนึ่งในเหตุผล ที่รัฐบาลไม่อยากแถลงผลงานครบ 1 ปีหรือไม่ แต่รัฐสภาได้อนุญาตให้สภาพิจารณาเรื่องนี้แล้ว และประธานสภา มีอำนาจในการบรรจุระเบียบวาระได้เลย คิดว่าน่าจะได้มีการอภิปรายในสภาและรัฐบาลก็ต้องมาชี้แจง โดยคาดว่าการอภิปรายน่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน และควรจะให้มีการถ่ายทอดสด เหมือนในอดีตที่ผ่านมา แต่จากการอภิปรายของ ส.ส.รัฐบาล ในที่ประชุมเมื่อวานนี้แสดงให้เห็นว่าไม่เต็มใจที่จะแถลงผลงาน จึงอยากบอกว่า ไม่มีอะไรน่ากลัวขอให้ทำตามรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีการลงมติ เพียงแค่มารับฟังความเห็นของรัฐสภา และส.ส.รัฐบาลก็มีสิทธิ์อภิปรายด้วย น่าจะเป็นการใช้เวทีสภาได้เป็นประโยชน์

Blog Archive