Sunday, February 3, 2013

เจ้าพ่อคอมมาร์ต กระซิบดังๆ ถึง(ว่าที่)ผู้ว่าฯ ขอพื้นที่ให้คนกทม.ใช้ชีวิต!

เจ้าพ่อคอมมาร์ต กระซิบดังๆ ถึง(ว่าที่)ผู้ว่าฯ ขอพื้นที่ให้คนกทม.ใช้ชีวิต!
ฝากถึงบรรดาผู้สมัครฯ ระวังใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กผิดวิธี ทำคะแนนเสียงหดล้วงมุมมองคนไอทีตัวจริงอย่าง ปฐม อินทโรดม เจ้าพ่องานคอมมาร์ตเมืองไทย ฝากผู้ว่า กทม. คนที่ 16 เร่งคลายปมปัญหารถติด แนะระวังภัยใช้โซเชียลเรียกคะแนนกลายเป็นทำร้ายตัวเอง วอนหนุนเอกชนเดินหน้าไอที...นายปฐม อินทโรดม กรรมการบริหารและผู้จัดการทั่วไป บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงานคอมมาร์ต เปิดเผยว่า สิ่งที่ชอบที่สุดใน กทม. ตอนนี้ คือชอบที่มีแหล่งให้ความรู้ต่างๆ มากขึ้นทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ แม้บางแห่งจะไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กทม. แม้จะมีบางแห่งปิดไป เช่น พิพิธภัณฑ์เด็ก ซึ่งคิดว่าอาจปิดปรับปรุงจึงขอเอาใจช่วย เพราะคิดว่าคนกรุงเทพฯ​ ไม่ได้ต้องการแค่สวนสีเขียว แต่เราขาดแหล่งให้ความรู้กับเยาวชนซึ่งยังสามารถทำได้อีกมากเรื่องที่ไม่ชอบใน กทม. และคิดว่าคนอื่นๆ คงคิดเหมือนกันก็คือปัญหาการจราจร คน กทม. ควรมีทางเลือกที่ดีกว่านี้ ปัจจุบันเราออกเดินทางกันแบบไม่มีทางเลือก แม้จะมีแอพพลิเคชั่นให้ได้ตรวจสอบสภาพการจราจรก่อนเดินทาง แต่อย่าลืมว่าประชากรในกรุงเทพฯ ทุกคนไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟน ควรมีระบบสื่อสารกับประชาชนที่ดีกว่านี้ ซึ่งหากทำได้ก็จะสามารถปรับปรุงปัญหาการจราจรหรือหาทางหลบเลี่ยงได้ เพราะปัญหาจราจรเป็นเรื่องใหญ่ของคนกรุงเทพฯ ผมคิดว่ามีทางแก้อยู่หลายทาง การให้ข้อมูลเป็นทางออกทางหนึ่ง คนจำนวนไม่น้อยไม่เร่งรีบกับชีวิต บางคนรู้ว่าช่วงเวลานี้รถกำลังติดแม้ถึงเวลาเลิกงาน แต่เขาก็ยังไม่ออกเดินทางในช่วงนั้นแต่เลือกที่จะรอให้รถคล่องตัวก่อน ควรมีการจัดการข้อมูลที่ทำได้ดีกว่านี้ จะหวังพึ่งแต่ จส.100 สวพ.91 แค่นี้ไม่ได้ ต้องมีช่องทางอื่น ซึ่งเทคโนโลยีสามารถเป็นส่วนเสริมได้อีกมาก ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีก็อย่าผูกติดแค่ทำเป็นแอพพลิเคชั่นเพราะคนใช้งานน้อย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าผู้ว่าฯ คนต่อไปควรใส่ใจให้มากกรุงเทพฯ ในอนาคตต้องน่าอยู่ โดยส่วนตัวคิดว่าหากมองประเทศเพื่อนบ้าน แน่นอนว่าเขารวยกว่าประเทศเรามาก เช่น สิงคโปร์ ซึ่งในอดีตเขาเป็นเมืองที่ไม่น่าอยู่ แม้ว่าเมืองเขาจะสวย สะอาดตา พื้นที่สีเขียวเยอะแต่ไม่น่าอยู่เพราะว่าเครียด เป็นเมืองที่เหมาะแก่การทำงาน คนจึงไม่รู้สึกรีแลกซ์กับเมือง กรุงเทพฯ พยายามพัฒนาอะไรมาหลายอย่าง คำว่าน่าอยู่สำหรับผมคือการมีอะไรที่เหมาะกับแต่ละคน แต่ละวัย แต่ละกลุ่ม เราเป็นเมืองหลวงที่พยายามพัฒนาระบบสาธารณูปโภค แต่จะให้มองเพียงแค่นั้นไม่ได้ เพราะต้องยอมรับว่าการพัฒนาเพียงด้านใดด้านหนึ่งอาจทำให้อีกหลายด้านด้อยคุณภาพลง ในรอบหลายปีที่ผ่านมา กรุงเทพฯ ก็มีการเพิ่มพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่ศิลปะ ซึ่งเป็นด้านดี พูดง่ายๆ คือ กรุงเทพฯ​ ควรมีครบทั้งความความรู้ ความบันเทิง การพักผ่อนหย่อนใจ นั่นถึงจะเรียกว่าเป็นการเพิ่มทางเลือกให้คนในเมืองได้ใช้ชีวิตอย่างแท้จริงฝากถึงผู้สมัครทุกท่าน แทนที่จะใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อเรียกคะแนนให้คนไปเลือก แต่ปีนี้ อาจกลายเป็นการใช้เพื่อกระตุ้นให้คนไม่เลือกคุณได้เช่นกัน ผลลบจากการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กครั้งนี้แรงกว่าที่คิด และสำหรับเรื่องอื่นๆ ก็อยากจะฝากว่า อะไรที่ทำไม่ได้ก็อย่ามาพูด เพราะมันยิ่งทำให้คุณมีแต่เสียกับเสีย โดยเฉพาะเรื่องไฮเทคทั้งหลาย ความเห็นส่วนตัวผมคือเอกชนเขาทำได้ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องจำเป็นต้องทำอะไรทับซ้อนหรือเอื้อให้เขา เพราะเขามีความเพียบพร้อมอยู่แล้ว ไม่จำเป็นจะต้องแข่งขันหรือไปเอาหน้าจากเขามาสนับสนุนเขาดีกว่าครับ นายปฐม กล่าว.

โสภณ ลุย ร.ร.เทพศิรินทร์ หาเสียงในฐานะศิษย์เก่า

โสภณ ลุย ร.ร.เทพศิรินทร์ หาเสียงในฐานะศิษย์เก่า
โสภณ หมายเลข 4 เสนอพัฒนาตลาดน้ำ พร้อมลุย ร.ร.เทพศิรินทร์บ่ายนี้ในฐานะศิษย์เก่า... ดร.โสภณ พรโชคชัย ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4 กล่าวถึงนโยบายสำคัญในการพัฒนากรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่ 3 ก.พ. ได้ไปร่วมตักบาตรและหาเสียง ณ ตลาดน้ำขวัญเรียม จึงเสนอแนวคิดต่อการพัฒนาตลาดน้ำว่า เพื่อร่วมรักษาวัฒนธรรมไทย ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สิ่งที่เข้าใจก็คือการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นความพึงพอใจ ความสุขสบายใจ ความตื่นเต้นและสิ่งเร้า เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการตัดสินใจซื้อสินค้าใช้อารมณ์มากกว่า และมีลักษณะตามฤดูกาล จึงต้องมีการบริหารที่ดี ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครจึงควรส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากตัวตลาดก็คือการเชิญชวนมาท่องเที่ยวต่อเนื่อง การอำนวยความสะดวกในการเดินทาง การบริการในระหว่างการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังพึงส่งเสริมการเที่ยวชมศาสนสถาน โบราณสถานเก่าแก่ และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การพายเรือ โดยเฉพาะการสนับสนุนการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของพื้นที่ ผู้ค้ารายย่อย บริการสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดส่งสินค้า ฯลฯ โดยเน้นการส่งเสริมสร้างความรู้จักต่อเนื่อง การบริหารจัดการพื้นที่ เช่น การดูแลค่าเช่าที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย การตรวจสอบคุณภาพสินค้าและบริการที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย การให้ข้อเสนอแนะต่อการกำหนดราคาสินค้าและบริการที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย จะเป็นหลักประกันคุณภาพและเป็นการสร้างแบรนด์ในระยะยาวให้กับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบบ้านๆ ที่ต้องอาศัยการจัดการแบบมืออาชีพ ซึ่งองค์กรชาวบ้านเองก็ดำเนินการได้ภายใต้การสนับสนุนของ กทม. ในส่วนนโยบายการพัฒนาศูนย์บริการสาธารณสุข ปัจจุบันปัญหาของศูนย์คือกำลังคนมีน้อย ไม่เพียงพอ เครื่องมือแพทย์ค่อนข้างเก่ามาก ยาและการจ่ายยาก็ไม่เพียงพอ ดังนั้นทุกวันนี้ ศูนย์จึงเปิดบริการเฉพาะวันจันทร์-พฤหัสฯ ในขอบเขตงานที่จำกัดมาก และมีจำนวนลำดับผู้ใช้บริการที่จำกัดมาในแต่ละวัน ส่วนวันศุกร์ก็มักไม่รับคนไข้ และในช่วงบ่ายก็จะหยุดให้บริการโดยปริยาย ข้อเสนอคือการเพิ่มงบประมาณด้านสาธารณสุข เพื่อไม่ให้มีเพียงการตั้งศูนย์อยู่ในทางกายภาพ แต่ควรมีการทำหน้าที่ที่ดีด้วยการจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์เก่าไปเสีย เร่งรัดขั้นตอนการซ่อมบำรุงเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ในสำนักงาน ซื้ออุปกรณ์ใหม่ และมีสำรองไว้เพื่อใช้สอย และหรือเช่า เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน สำหรับในระยะยาว ดร.โสภณ เสนอให้พัฒนาศูนย์บริการสาธารณสุขให้เป็นโรงพยาบาลชุมชน เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยอาจเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กไม่เกิน 20 เตียง เพื่อขยายโอกาสการรักษาพยาบาลแก่ชาวกรุงเทพมหานคร หรืออย่างน้อยอาจเน้นการรับผู้ป่วยนอก (OPD) เพื่อให้บริการได้อย่างทั่วถึง กทม. ยังควรเสริมบุคลากรเพิ่มเติมในศูนย์ เช่น ตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ พยาบาลภาคสนาม เพื่อการให้บริการในเชิงรุกในพื้นที่ในด้านการสาธารณสุขในมิติต่างๆ นอกเหนือจากการรอให้บริการเท่านั้นนอกจากนี้ได้ชูนโยบายการเติบโตของเมืองอย่างชาญฉลาด (เมืองชาญฉลาด หรือ Smart Growth) มากระจายความเจริญในใจกลางกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ชานเมืองที่สิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่เพียงพอ โดยแนวคิดนี้คือการพัฒนาเมืองโดยรวมศูนย์ความเจริญอยู่ภายในเมืองเพื่อป้องกันปัญหาการเติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไปสู่ชานเมือง (Urban Sprawl) และทำให้ศูนย์กลางเมืองในย่านชานเมืองมีความอยู่ตัวในตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพิงใจกลางเมือง ไม่ต้องเดินทางเข้าเมือง หลักการ 10 ประการสำคัญของแนวคิดนี้คือ การสร้างโอกาสที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย การสร้างชุมชนที่เดินถึงกันได้ การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน การสร้างอัตลักษณ์ของท้องที่ การตัดสินใจพัฒนาที่คาดการณ์ได้ เป็นธรรมและคุ้มค่า การใช้ที่ดินแบบผสมผสาน การรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี การมีทางเลือกการคมนาคมขนส่งที่หลากหลาย การพัฒนาชุมชนที่มีอยู่แล้ว (ไม่ใช่สร้างชุมชนใหม่) และการออกแบบอาคารที่มีประสิทธิภาพแต่ไม่หนาแน่นเกินไป 
 
สำหรับกำหนดการลงพื้นที่หาเสียงในวันนี้ (4 ก.พ.) เวลา 10.00 น. จะลงพื้นที่บริเวณหน้าสถานีรถไฟฟ้า MRT หน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อชมต้นแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และการใช้สอยพื้นที่เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างหนาแน่นแต่ไม่แออัดในบริเวณดังกล่าว และพาชมอาคารสูงสำหรับผู้มีรายได้น้อย จากนั้นในเวลา 12.00 น. ลงพื้นที่บริเวณโรงเรียนเทพศิรินทร์ ถ.กรุงเกษม โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย จะไปหาเสียงในฐานะนักเรียนเก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ และเสนอความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการศึกษาของกรุงเทพมหานคร.

แต่งรถประชดรัก... หนุ่มเจ้าของเขียงหมู เจ้าของ รถแบทแมน

แต่งรถประชดรัก... หนุ่มเจ้าของเขียงหมู เจ้าของ รถแบทแมน
หนุ่มเจ้าของเขียงหมู เจ้าของรถประหลาดคล้าย รถแบทแมน เผยเหตุที่ต้องแต่งรถให้แปลกเพื่อประชดชีวิตเพราะถูกภรรยาเลิกไปมีคนใหม่ให้ตนเลี้ยงลูกชาย 2 คน...เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 3 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรับแจ้งจากชาวบ้านในหมู่บ้านวงแหวนชัชวาลย์ โครงการ 2 เขตบางขุนเทียน กทม. ว่า พบรถลักษณะประหลาดคล้ายรถแบทแมน หนังดังฮอลลีวูด จึงไปตรวจสอบ พบนายมนูญ พัดทาบ อายุ 41 ปี เจ้าของเขียงหมูชื่อตี๋ใหญ่ฟาร์ม พร้อมกับรถอีซูซุ รุ่นมังกรทอง ทะเบียน ออ 1920 กรุงเทพมหานคร สภาพดัดแปลงตัวถัง นายมนูญ เปิดเผยว่า เหตุที่ต้องแต่งรถให้แปลกประหลาดเช่นนี้ก็เพื่อประชดชีวิตเพราะถูกภรรยาเลิกไปมีคนใหม่ให้ตนเลี้ยงลูกชาย 2 คน คิดฆ่าตัวตายแต่เป็นห่วงลูก อยากมีชีวิตใหม่ที่ไม่เหมือนใครจึงดัดแปลงรถกระบะให้เหมือนรถแบทแมน ทุกวันก็ขับรถไปรับเนื้อหมูจากฟาร์มที่ จ.นครปฐม ถูกตำรวจเรียกก็หลายครั้ง แต่เมื่อเล่าเหตุผลให้ฟัง ตำรวจถึงกับน้ำตาคลอปล่อยไปไม่เขียนใบสั่ง.

Blog Archive