Wednesday, April 21, 2010

ธปท.รับลูกเตรียมประสานแบงก์พาณิชย์เยียวยาผู้ค้าราชประสงค์

ธปท.รับลูกเตรียมประสานแบงก์พาณิชย์เยียวยาผู้ค้าราชประสงค์

ผู้ค้าย่านราชประสงค์บุกธปท.ยื่นข้อร้องให้ธปท.ช่วยเหลือด้านสภาคล่อง หลังได้รับผลกระทบทำธุรกิจไม่ได้ ด้านธปท.รับเรื่องเตรียมประสานงานแบงก์พาณิชย์.และภาครัฐให้ช่วยเยียวยาต่อไป เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 21 เม.ย.2553 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมบูรณ์ นำทิพย์จันทาเจริญ ประธานกลุ่มผู้ประกอบการอาชีพสุจริตที่ได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุม ทางการเมือง ( สดช.) และ กลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง ได้เป็นตัวแทนผู้ประกอบการรายย่อยราชประสงค์ได้เดินทางมายังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อยื่นหนังสือถึง นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หวังให้ ธปท.ช่วยเหลือและเยียวยาด้านสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจที่ได้รับ ผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองย่านถนนราชประสงค์ หลังจากที่ปัจจุบันไม่สามารถประกอบอาชีพธุรกิจได้ตามปกติ จนขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก มาตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา ทั้งนี้โดยมีนายสรสิทธิ์ สุนทร์เกส ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เป็นตัวแทนรับหนังสือ นายสมบูลย์ กล่าวว่า การเดินทางมายังทางธปท.ในครั้งนี้ เพื่อขอช่วยเหลือจากธปท.เป็นการฉุกเฉิน ใน 9 เรื่อง คือ 1.ขอผ่อนผันระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ในส่วนของเงินต้น ไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.นี้ 2.ขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ เหลือไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.นี้ 3.ขอวงเงินกู้ฉุกเฉินโดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน วงเงินไม่น้อยกว่ารายได้ที่มีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตลอดปี 2552 อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) ระยะเวลาผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 3 ปี ชำระดอกเบี้ยทุก 12 เดือน 4. ขอวงเงินฉุกเฉินไม่มีหลักประกัน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้สมาชิกกลุ่มฯ ที่เป็นหนี้นอกระบบ วงเงินไม่น้อยกว่าหนี้นอกระบบทั้งหมด และอนุมัติวงเงินกู้อีกสองเท่า เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ ระยะเวลาผ่อนชำระไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยทุก 3 เดือน 5.ขอวงเงินฉุกเฉิน โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อชำระค่าสินค้า และค่าบริการ ตามมูลค่าใบกำกับภาษีซื้อตลอดปี 2553 โดยชำระให้กับเจ้าหนี้ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ให้บริการ โดยตรงเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับเจ้าหนี้ 6.ขอวงเงินกู้ฉุกเฉินโดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ตามมูลค่าสต๊อกสินค้าที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มสภาพคลล่อง อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ ระยะเวลาผ่อนชะระไม่น้อยกว่า 3 ปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน 7. ขอลดอัตราการผ่อนชำระบัตรเครดิต จาก 10% เป็น 3% และลดอัตราดอกเบี้ยเครดิตต่ำกว่าเอ็มแอลอาร์ เป็นระยะเวลา 3 ปี 8.ขอเพิ่มวงเงินอนุมัติบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลทุกชนิด บัตรผ่อนสินค้า และบัตรกดเงินสด อีก 10 เท่าของวงเงินที่ได้รับในปัจจุบัน สำหรับสมาชิกกลุ่มฯ ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีมาตลอด และ 9.ขอผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชี การเงิน ดำเนินการปรับโครงสร้างนี้ วางแผนทางการเงิน และวางระบบบัญชีรายรับ รายจ่าย ตลอดจนจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมซอฟท์แวร์ระบบบัญชี พร้อมฝึกอบรมระบบบัญชีให้สมาชิกฯ โดยรัฐบาลเป็นผู้สำรองค่าใช่จ่ายทั้งหมด และให้สมาชิกผ่อนชำระคืนภายใน 3 ปีด้าน นายสรสิทธิ์ กล่าวว่า ธปท. เข้าใจ และเห็นใจ ในความเดือดร้อนของผู้ประกอบการดี ซึ่งในหลายข้อที่ร้องขอให้ธปท.ช่วยเหลือนั้น เห็นว่า ยังมีช่องทางที่สามารถทำได้ โดยข้อเสนอที่ 1 และที่ 2 คือ การขอผ่อนผันระยะเวลาชำระคืนเงินกู้และ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้น ผู้ประกอบการสามารถเข้าขอผ่อนผันกับธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารได้ทันที เพราะการขอผ่อนดังกล่าวอยู่ในวิสัยที่ธนาคารพาณิชย์สามารถทำได้ และขณะนี้ ธปท.ได้ประสานงานไปกับ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทยให้พิจารณาต่อไปแล้ว อย่างไรก็ตามธนาคารพาณิชย์จะต้องพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายๆไป ขึ้นอยู่กับการพูดคุยระหว่างลูกค้าและธนาคารพาณิชย์นั้นๆ ด้วยส่วนข้อเสนอที่ 3,4,5,6 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกันนั้น ยอมรับว่าบางมีข้อที่ ธปท.ไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น การขอเงินกู้ฉุกเฉินหรือ เงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ(ซอฟท์โลน) เนื่องจาก ตาม พ.ร.บ.ธปท.ปัจจุบัน การให้ดอกเบี้ยต่ำกับธุรกิจไม่สามารถทำได้แล้ว อย่างไรก็ตาม เห็นว่า ยังมีอีกหลายช่องทางที่จะสามารถ ช่วยเหลือได้ โดย ธปท.จะทำหน้าที่ช่วยประสานงานไปยังธนาคารเพื่อช่วยหาทางออกต่อไป ซึ่งก็คงจะต้องพูดคุยกับธนาคารพาณิชย์เป็นรายไปเช่นกัน นอกจากนี้ ปัจจุบันรัฐบาลยังมีโครงการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) คอยช่วยเหลือเอสเอ็มอีอยู่แล้ว ส่วนการเพิ่มสภาพคล่องกลุ่มหนี้นอกระบบนั้น ธปท.จะประสานข้อเสนอดังกล่าวไป ยังกระทวงการคลังหรือรัฐบาลพิจารณาต่อไป สำหรับข้อเรียกร้องข้อที่ 7. ธปท.ไม่แนะนำให้มีการกู้เงินผ่านบัตรเครดิตต่างๆ เนื่องจากบัตรดังกล่าววัตถุประสงค์ไว้เพื่อต้องการวงเงินฉุกเฉิน ขณะที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างแพง ส่วนข้อ 8.การเพิ่มขอวงเงินบัตรเครดิต หรือ บัตรต่างๆ นั้น ตามเกณฑ์แล้ว จะต้องเป็นผู้เข้าหลักเกณฑ์การประนอมหนี้หรือปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น และ 9.เป็นแนวคิดที่ ธปท.เห็นด้วย แต่ปัจจุบันก็มีโครงการสำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)พร้อมให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว ซึ่งธปท.จะประสานงานให้ต่อไป


NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive