Friday, December 21, 2012

บอร์ด รฟม.ลุยรถไฟฟ้าสีเขียวประกวดราคาต้นปีหน้า

บอร์ด รฟม.ลุยรถไฟฟ้าสีเขียวประกวดราคาต้นปีหน้า
บอร์ด รฟม. ไฟเขียวประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท คาดประกวดราคาได้ต้นปีหน้า ส่วนแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี ยึดตามแผนเดิม ขณะที่ผลประกอบการปี 55 ขาดทุนสะสม 3.5 หมื่นล้าน... เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2555 น.ส.รัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม.ได้มีมติอนุมัติดำเนินการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 19 กม. วงเงิน 26,569 ล้านบาท แบ่งการประกวดราคาออกเป็น 4 สัญญา คือ 1.งานโยธาช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 12 กม. วงเงิน 16,443 ล้านบาท 2.งานโยธาช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยทาง 7 กม. วงเงิน 6,115 ล้านบาท 3.ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ วงเงิน 3,638 ล้านบาท และ 4.ระบบราง วงเงิน 2,609 ล้านบาททั้งนี้ รฟม.จะเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคม และ ครม.พิจารณาอนุมัติดำเนินการต่อไป คาดว่าต้นปี 2556 จะสามารถเปิดประกวดราคาได้ ซึ่งเดิมโครงการนี้ได้รับการอนุมัติจาก ครม.ให้ดำเนินการช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ แต่จากการพิจารณาแล้วเห็นว่าการต่อขยายไปถึงคูคตจะเกิดประโยชน์ จึงจะได้เสนอให้ดำเนินการไปพร้อมกัน            นอกจากนั้น ที่ประชุมยังเห็นชอบแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. มูลค่า 58,624 ล้านบาท โดยยึดตามแนวเส้นทางเดิมคือ เริ่มต้นจากใกล้ทางแยกแคราย ไปตามถนนติวานนท์เข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะที่ห้าแยกปากเกร็ด ผ่านเมืองทองธานี ผ่านศูนย์ราชการแห่งใหม่ ผ่านแยกหลักสี่ ข้ามถนนวิภาวดีและพหลโยธิน และวิ่งไปตามถนนรามอินทราถึงทางแยกมีนบุรี วิ่งเข้าสู่มีนบุรีตามแนวถนนสีหบุรานุกิจ จนถึงสะพานข้ามคลองสามวา และเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบและข้ามถนนรามคำแหง มีสถานีปลายทางที่บริเวณใกล้แยกถนนรามคำแหงร่มเกล้า โดยก่อนหน้านี้มีการเสนอให้แนวเส้นทางเข้าไปในเมืองทองธานี รวมทั้งไม่ผ่านตลาดมีนบุรี ไปตามแนวเส้นทางสุวินทวงศ์แทน แต่คณะกรรมการพิจารณาแล้วว่า เส้นทางเดิม ซึ่งเป็นเส้นทางตามแผนแม่บทดีที่สุด แต่ให้ไปศึกษาจัดทำระบบฟีดเดอร์จากบริเวณดังกล่าวมาเชื่อมกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผลประกอบการปี 2555 รฟม.ขาดทุนสะสมประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้มอบหมายให้หัวหน้าการเงินไปวางแผนการบริหารหนี้สินที่มีอยู่ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสกุลเยน เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยเมื่อปี 2554 รฟม.ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนกว่า 1 หมื่นล้านบาท.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive