Thursday, December 20, 2012

ชัชชาติเล็งพัฒนาอุตฯการบินไทยสู่ฮับในภูมิภาค

ชัชชาติเล็งพัฒนาอุตฯการบินไทยสู่ฮับในภูมิภาค
คมนาคม ตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด วางแผนแม่บทพัฒนานิคมอุตฯ การบิน คาดแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน หวังชิงส่วนแบ่งตลาดมูลค่ากว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ชูจุดเด่นด้านทำเล แรงงานมีฝีมือ สั่งการบินพลเรือนหาพื้นที่ทำนิคมร่วมกับ กนอ.นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย ภายหลังประชุมติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบิน ว่า ได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาครวม 3 ชุด ได้แก่ 1. คณะกรรมการศึกษาวางแผนแม่บทในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน มีบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบ โดยว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเป็นผู้วางแผน 2. คณะกรรมการวางแผนการพัฒนาบุคคลด้านการบิน สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) เป็นผู้รับผิดชอบ และ 3. คณะกรรมการศึกษาแนวทางการสนับสนุนให้เอกชนไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตเครื่องบิน เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องบิน เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานในประเทศไทย โดยให้คณะกรรมการทั้ง 3 ชุด เสนอรายละเอียดแผนงานภายใน 2 เดือน หรือเดือน -ก.พ.2556 สำหรับมูลค่าตลาดอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกคิดเป็นเงินกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 6 ล้านล้านบาท และมีอัตราการเติบโตที่ประมาณ 3.9% ขณะที่อุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียมีอัตราการเติบโตที่ 5.7 % แต่ไทยมีส่วนแบ่งจากอุตสาหกรรมดังกล่าวปีละ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ทำให้เห็นโอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาด โดยชูจุดเด่นเรื่องของทำเลที่ตั้งของประเทศ แรงงานมีฝีมือ และต้นทุนรวมต่ำ โดยเบื้องต้นจะพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมขนาดใหญ่ และศูนย์ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องบินส่วนการพัฒนาบุคลากรด้านการบินนั้น พบว่า ตลาดมีความต้องการบุคลากรด้านนี้อีก 2 แสนคน ใน 10 ปีข้างหน้า หากไทยเตรียมความพร้อมการฝึกบุคลากรจะดึงรายได้เข้าประเทศได้ เช่น กรณีฝึกนักบิน 1 คน ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านบาท หากไทยฝึกนักบิน 1 แสนคน ก็จะมีรายได้ประมาณ 2 แสนล้านบาท ขณะที่การฝึกพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศไทยสามารถให้การฝึกอบรมได้ เบื้องต้นทราบว่า ประเทศคู่แข่งที่มีศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบิน คือ ประเทศอินเดีย และจีน แต่อินเดียมีปัญหาเรื่องความล่าช้าของการดำเนินงานที่ยุ่งยาก ขณะที่จีนมีปัญหาเรื่องการฝึกบิน เนื่องจากข้อจำกัดด้านความมั่นคงของการควบคุมการจราจรทางอากาศซึ่งทหารเป็นผู้ดูแล ดังนั้นไทยจึงมีโอกาสที่จะพัฒนาเรื่องการฝึกอบรมได้ดีทั้งนี้ ได้ให้สถาบันการบินพลเรือน ไปพิจารณาการจัดหาพื้นที่เพื่อทำนิคมอุตสาหกรรมการบิน โดยมีทั้งท่าอากาศยานนครราชสีมา อู่ตะเภา ตาคลี และกำแพงแสน โดยจะต้องศึกษารายละเอียดร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเปิดรับฟังเอกชนที่เกี่ยวข้องในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive