Thursday, March 28, 2013

สินค้าอาหาร-เกษตรร่วงหนัก กระทบส่งออกก.พ.ติดลบ 5.83%

สินค้าอาหาร-เกษตรร่วงหนัก กระทบส่งออกก.พ.ติดลบ 5.83%
พาณิชย์ เผยมูลค่าส่งออก ก.พ.56 ติดลบ 5.83% มูลค่า 1.79 หมื่นล้านเหรียญ เหตุสินค้าอาหาร-เกษตรร่วงหนัก รับค่าบาทแข็งทำกระทบส่งออกเล็กน้อย แต่เชื่อมี.ค.ฟื้น หลังสินค้าเกษตรมีผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 28 มี.ค. นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทยว่า ในเดือนก.พ.56 การส่งออกมีมูลค่า 17,928 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 5.83% เมื่อเทียบกับเดือนก.พ.55 ถือเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือนนับจากเดือนก.ย.55 และเมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 529,529.6 ล้านบาท ลดลง 11.32% ส่วนนำเข้า มีมูลค่า 19,485.1 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 5.27% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 582,8771 ล้านบาท ลดลง 0.78% ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 1,557.1 ล้านเหรียญฯ หรือขาดดุล 53,347.5 ล้านบาทสำหรับการส่งออกในช่วง 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) 56 มีมูลค่า 36,196.9 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 4.09%จากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 1.08 ล้านล้านบาท ลดลง 0.13% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 43,240.9 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 22.24% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 1.31 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.53% โดยขาดดุลการค้า 7,044 ล้านเหรียญฯ หรือขาดดุล 229,027.5 ล้านบาทโดยปัจจัยที่ทำให้มูลค่าการส่งออกในดือน ก.พ.56 ขยายตัวลดลง เป็นผลมาจากมูลค่าการส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรลดลง 13.5% โดยเฉพาะกุ้งแช่แข็งที่ผลผลิตในประเทศลดลง และประเทศนำเข้ามีมาตรการสุขอนามัยที่เข้มงวด ยังเจอมาตรการสุขอนามัย ทำให้ส่งออกลดลง 22.2% ยางพารา ลดลง 11.8% เพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ข้าว ลดลง 20.2% เพราะมีการส่งมอบแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ลดลง จากการทยอยส่งมอบเป็นงวดๆ ส่วนผักผลไม้ น้ำตาล มาจากราคาสินค้าในตลาดโลกลดลง เพราะผลผลิตในตลาดโลกเพิ่มขึ้น จึงมีการแข่งขันกันลดราคาขาย ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ลดลง 2.6% จากการลดลงของสิ่งทอ 3.8% อัญมณีและเครื่องประดับ 65.3% ผลิตภัณฑ์ยาง 3.7% เป็นต้น และหมวดสินค้าอื่นๆ ลดลง 0.1% การส่งออกที่ลดลงในเดือนก.พ. ให้น้ำหนักปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เท่าๆ กัน ทั้งเศรษฐกิจโลก ที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่งกระทบต่อสัญญาซื้อขายระยะสั้น แต่สัญญาซื้อขายล่วงหน้า 3-6 เดือนน่าจะกระทบไม่มากนัก รวมถึงการแข่งขันของประเทศคู่แข่ง ที่มีการลดราคาขาย ขณะที่ประเทศผู้ซื้อมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีมากขึ้น นางวัชรี กล่าว อย่างไรก็ตาม ในเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดูแลให้มีเสถียรภาพ และไม่แข็งค่าจนเกินไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อมูลค่าการส่งออกของไทย ซึ่งจนถึงขณะนี้ กระทรวงฯยังคงยืนยันเป้าหมายมูลค่าการส่งออกปี 56 ขยายตัวที่ 8-9% มูลค่า 247,000-250,000 ล้านเหรียญฯ แต่จะทบทวนเป้าหมายการส่งออกทั้งปีประมาณเดือนพ.ค.นี้

No comments:

Post a Comment

Blog Archive