Friday, March 29, 2013

วิจัยเด่น ม.ขอนแก่น กระติบข้าวไผ่ตะวัน ต่อยอดธุรกิจชุมชนสู่ตลาดโลก

วิจัยเด่น ม.ขอนแก่น กระติบข้าวไผ่ตะวัน ต่อยอดธุรกิจชุมชนสู่ตลาดโลก
ผลงานเด่นนักวิจัย ม.ขอนแก่น กระติบข้าวไผ่ตะวัน ต่อยอดธุรกิจชุมชน สู่ตลาดการค้าในระดับสากล หลังพัฒนาต่อยอดความคิด ตอบสนองความต้องการของลูกค้า แต่คงเอกลักษณ์วัฒนธรรมไว้...หลังจากการจัดตั้งกลุ่มกระติบข้าวของชาวบ้านบ้านยางคำ ต.ยางคำ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2541 ที่ผ่านมา โดยได้รับงบประมาณจากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อ.หนองเรือ เพื่อหารายได้เสริม หลังว่างจากงานประจำก็คือเกษตรกรรม เพื่อผลิตสินค้างานหัตถกรรมจัก โดยมีการขยายเครือข่ายภายในหมู่บ้าน ในรูปแบบของการทำงานเป็นทีม และเดินหน้าพัฒนาศักยภาพของสินค้ามาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และปรับโฉมเครื่องจักสานของหมู่บ้านแห่งนี้ ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่ขึ้นชื่อของ จ.ขอนแก่นโดย ผศ.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ อาจารย์วิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า จากเดิมชุมชนแห่งนี้ ได้ใช้ภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ด้วยการกำหนดลวดลายที่ใช้ในการจักสานกระติบข้าวด้วยลายดั้งเดิม หรือที่เรียกกันว่า ลายฝาบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ลายคุบ ลายสอง ลายสาม ลายดอกจิก ตลอดจนการทำลวดลายที่ละเอียด และมีการสานที่แน่นหนา อันเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม เดิมใช้วัสดุที่เป็นไม้ไผ่ในหมู่บ้าน ทั้งไผ่ไม้ปล้องห่างและไม้ไผ่สีสุก ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงทำให้ผลงานนั้นคล้ายกับผลิตภัณฑ์จากชุมชนต่างๆ ในหลายจังหวัดที่ผลิตขึ้นมาจำหน่ายเช่นกัน ทีมนักวิจัยจึงได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบถึงขั้นตอนการผลิตและร่วมประชุมร่วมกับชาวชุมชน ในการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบเป็นครั้งที่ 2 โดยร่วมกันสร้างแนวคิดใหม่ให้กับชาวบ้าน ที่อ้างอิงถึงภาวะที่บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของโลก ปัญหาที่พบที่ผ่านมาคือ ผลิตภัณฑ์ขาดรูปแบบใหม่ๆ ความโดดเด่น ขาดลักษณะเฉพาะของรูปแบบ ที่มีความแตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ และโครงสร้างของการบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับการขาดการส่งเสริมในด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ยังคงเอกลักษณ์พื้นถิ่น และขาดศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดอื่น เอกลักษณ์ในด้านลวดลายดั้งเดิม ที่มีมาแต่บรรพบุรุษ และสามารถนำมาประยุกต์ในรูปแบบสมัยใหม่ ที่ตรงต่อความต้องการของตลาด แต่ยังคงเอกลักษณ์ของลวดลาย การสานที่ละเอียด“การสร้างผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ ที่เน้นให้เป็นไปในรูปแบบของการสร้างแนวคิด และสร้างกระบวนการให้เห็นถึงรูปแบบผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมจักสานของหมู่บ้านที่มีรูปแบบเฉพาะตัว ด้วยการเปลี่ยนวัตถุดิบมาเป็นไม้ไผ่ตะวัน ซึ่งเป็นไม้ไผ่เฉพาะที่มีสีทอง และมีสีสันที่สวยงามโดดเด่น นำมาผลิตให้เป็นรูปแบบเฉพาะให้กับกลุ่มกระติบข้าว บ้านยางคำ เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มสินค้าให้มีความโดดเด่น เกิดบุคลิกของสินค้าที่ดี มีความแตกต่างจากคู่แข่ง เป็นที่จดจำและประทับใจ ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้าในที่สุด” ผศ.ดวงจันทร์ กล่าวนายกองมี หมื่นแก้ว ประธานกลุ่มจักสานกระติบข้าวไผ่ตะวัน กล่าวว่า ความมีเอกลักษณ์ของชุมชน ทำให้ปัจจุบันกลุ่มฯ มีผลิตภัณฑ์ที่ออกจำหน่ายจากไม้ไผ่สีทองเนื้อดี รูปทรงแปลกตา ไม่ว่าจะเป็นปิ่นโต กระเป๋า รูปหัวใจ วงรี เพื่อให้เป็นกระเป๋าอเนกประสงค์มากกว่าการจักสานกระติบข้าวแบบเดิม อีกทั้งยังคงมีการใช้สีธรรมชาติจากเปลือกไม้มาทำการย้อมไม้ไผ่ในรูปแบบของการจับคู่สีที่ลงตัว ลวดลาย ที่ดูแปลกและสวยงาม ด้วยเทคนิคการย้อมสีพิเศษ เพื่อให้สีไม้ติดทนนาน ขณะเดียวกัน ชาวชุมชนยังคงมีการคิดค้นร่วมกับทีมนักวิจัยในการนำเอาวัสดุ ธรรมชาติที่เหลือใช้ อาทิ การนำหนามไม้ไผ่ ผลน้ำเต้า นำมาสร้างสรรค์เป็นโคมไฟ ที่แขวนชุด เสื้อผ้า รวมไปถึงการแยกผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ออกเป็น 3 รูปแบบ คือ กระติบเดี่ยว สามารถแยกชิ้นและการเก็บรักษาในรูปแบบวางช้อนกันแบบกระติบชุดของฝาก พร้อมฝาปิด-เปิด และห่อหุ้มด้วยชุดหิ้ว แบบกระติบชุดปิกนิก สามารถแยกชุดได้เป็น 4 ชุด พร้อมฝาปิด-เปิด และห่อหุ้มด้วยกล่องเก็บยกชุดของการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยใช้แนวคิดของการออกแบบจาก “วัฒนธรรมการกิน” จนทำให้วันนี้กระติบข้าวไม้ไผ่ตะวัน กลายเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อมีลักษณะที่โดดเด่นสวยงาม และยังคงต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เป็นเครื่องจักสานประเภทต่างๆ ที่มีประโยชน์ สามารถที่จะใช้สอยได้ครบทุกตามความต้องการของผู้บริโภค มีความสวยงาม แปลกใหม่ มีการเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม ทันสมัยกลุ่มกระติบข้าวบ้านยางคำได้ความคิดสร้างสรรค์ของการพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย ทันสมัยและตรงตามความต้องการของลูกค้าจากแนวคิดวัฒนธรรมการกินที่พัฒนาเป็นแบบกระติบเดี่ยว แบบกระติบชุดของฝาก แบบกระติบชุดปิกนิก อีกทั้งการขยายกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งกระแสของการนิยมสินค้าหัตถกรรมจักสาน การย้อมสีตอกด้วยวัสดุธรรมชาติที่เน้นการจับคู่สีใหม่ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่หลากหลายได้รูปแบบที่เหมาะสม ในด้านประโยชน์ใช้สอย และความสวยงาม องค์ความรู้ที่เหมาะสม ที่เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ วิธีคิด รูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง ต่อตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานในชุมชนที่ยั่งยืน เพิ่มรายได้ของชุมชนบ้านยางคำในการสร้างมูลค่า อีกทั้งในด้านจิตใจที่สนุก เกิดความภูมิใจกับสิ่งที่ผลิตอย่างมีเป้าหมาย ไฝ่รู้ในการสร้างงาน การออกแบบอย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าคัดสรรได้เป็นสินค้า 3 ดาว และยังเป็นตัวแทนของ จ.ขอนแก่น.ผศ.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ กล่าวอีกว่า การพัฒนาองค์ความรู้การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกประเภทงานหัตถกรรมจักสาน จากการใช้แนวคิดนิทานพื้นบ้านสินไซ สำหรับหมู่บ้านท่องเที่ยว อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น เป็นวิจัยคุณภาพ เน้นการสำรวจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ประเภทงานหัตถกรรม จักสาน สำหรับหมู่บ้านท่องเที่ยว อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น ที่มีเอกลักษณ์ ลักษณะเฉพาะตัวที่สามารถแข่งขันได้ในตลาด และสามารถสู่ตลาดโลกได้ในอนาคต. 

No comments:

Post a Comment

Blog Archive