Wednesday, April 14, 2010

อุตุฯเตือนพายุฤดูร้อนพัดถล่มอีสาน1517เม.ย.นี้

อุตุฯเตือนพายุฤดูร้อนพัดถล่มอีสาน1517เม.ย.นี้



คมชัดลึก :ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกาศเตือนประชาชนระวังพายุฤดูร้อน พัดถล่มอีสานในช่วงวันที่ 15-17 เม.ย.นี้ แนะระวังอันตรายที่จะเกิดจากพายุอย่าอยู่ใกล้ต้นไม้ ป้ายโฆษณา ปภ. เตรียมปรับแผนรับมือคนแห่เข้ากรุงฯ กำชับทุกจังหวัดทำงานเข้มงวด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ศูนย์ ปภ. เขต 5 นครราชสีมา สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2553 ตลอดระยะเวลา 3 วัน ในพื้นที่ 4 จังหวัดอีสานใต้ โคราชยอดตายพุ่ง 11 ศพ






(15เม.ย.) นางวาสนา    จันดียืน นักอุตุนิยมวิทยาปฏิบัติการ/เวรพยากรณ์อากาศ กล่าวว่าตามที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกประกาศเตือน กรณีพายุฤดูร้อนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เนื่องจาก บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลิ่มลงมาปกคลุม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น
ขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกและทางตอนล่างของภาค  มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้  โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง  ลมกระโชกแรง  และอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่  
จากการตรวจวัดอุณหภูมิพบว่ามีอากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 38-41  องศาเซลเซียส  โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเป็นแห่งๆ  ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ และมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่  ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาคและทางตอนล่างของภาค
จึงขอให้ประชาชนป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะทำให้ต้นไม้  ป้ายโฆษณาหักโค่น  หรือที่พักอาศัยได้รับความเสียหายจากพายุลมแรงในช่วงวันที่ 15-17  เมษายน  2553  ไว้ด้วย   และติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างอย่างใกล้ชิดต่อไป
ปภ.ปรับแผนรับมือคนกลับกรุงหลังฉลองสงกรานต์
 นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. กล่าวว่า วันนี้ (15 เม.ย.) ซึ่งเป็นวันที่ 4 ในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบตัวเลขอุบัติเหตุสะสมในช่วง 2 วันแรกสูงกว่าปีที่ผ่านมา อาจเนื่องมาจากมีช่วงวันหยุดยาวประชาชนจึงเดินทางท่องเที่ยว และถนนส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ทำความเร็วได้จึงเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างมาก แต่หากเทียบวันต่อวันของทุกปีของวันที่ 13 เมษายน มักจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นสูงสุด แต่ในปีนี้จำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บลดลงกว่าปีที่ผ่านมา         นอกจากนี้ ปภ.เตรียมปรับแผนในการเดินทางกลับเข้ากรุงเทพมหานคร โดยขอให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ทำงานอย่างเข้มข้นด้วย พร้อมสั่งให้ทุกจังหวัดมีการปรับแผนเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานในแต่ละวันด้วย
         นายอนุชา ยังกล่าวฝากขอให้ประชาชนได้วางแผนในการเดินทางขากลับ และมีความพร้อมทั้งร่างกายและรถยนต์ ต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวัง ควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
ปภ.เขต 5 เผยสงกรานต์โคราชตายพุ่ง 11 ศพ
 นายวัลลภ  เทพภักดี  ผู้อำนวยการศูนย์ ปภ. เขต 5 นครราชสีมา  เปิดเผยถึงสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2553 ว่า ระหว่างวันที่ 12 - 14  เมษายน  2553  รวม 3 วัน 4  จังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ ปภ. เขต 5 นครราชสีมา คือ นครราชสีมา  ชัยภูมิ  บุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์  มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 104 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในเทศกาลสงกรานต์ ปี 2552 (117 ครั้ง) พบว่า  อุบัติเหตุลดลง  13 ครั้ง   คิดเป็น 11.1 เปอร์เซ็นต์  ประชาชนได้รับบาดเจ็บ(Admid)  121  คน  เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในเทศกาลสงกรานต์ ปี 2552 (136 คน) พบว่า ลดลง 15 คน คิดเป็น 11 เปอร์เซ็นต์   ผู้เสียชีวิต 11  คน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันในเทศกาลสงกรานต์ ปี 2552    
 แยกเป็น จังหวัดสุรินทร์  เกิดอุบัติเหตุ  45  ครั้ง  ผู้บาดเจ็บ 53  คน  ไม่มีผู้เสียชีวิต  จังหวัดนครราชสีมา  เกิดอุบัติเหตุ  32  ครั้ง  ผู้บาดเจ็บ 30 คน  ผู้เสียชีวิต  11  คน  จังหวัดบุรีรัมย์  เกิดอุบัติเหตุ 24 ครั้ง  ผู้บาดเจ็บ  31  คน ไม่มีผู้เสียชีวิต  จังหวัดชัยภูมิ เกิดอุบัติเหตุ  3 ครั้ง  ผู้บาดเจ็บ 7  คน ไม่มีผู้เสียชีวิต  โดยอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดกับรถจักรยานยนต์   คิดเป็น  80.7 เปอร์เซ็นต์  รองลงมาคือ รถปิคอัพ  12.8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ อันดับ 1 เกิดจากการเมาสุราขณะขับรถ  คิดเป็น  37.3 เปอร์เซ็นต์  รองลงมาคือ การขับรถเร็วเกินกำหนด  คิดเป็น  17.2 เปอร์เซ็นต์  และตัดหน้าในระยะกระชั้นชิด  คิดเป็น  8.9 เปอร์เซ็นต์
 สำหรับประเภทถนนที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ  ถนนในอบต.และหมู่บ้าน คิดเป็น  46.2 เปอร์เซ็นต์  รองลงมาคือถนนกรมทางหลวง  คิดเป็น  24 เปอร์เซ็นต์ และ ถนนทางหลวงชนบท  คิดเป็น  16.3 เปอร์เซ็นต์ โดยจุดเกิดเหตุเป็นทางตรงมากที่สุด รองลงมาคือทางโค้งและทางแยก  โดยช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ ช่วงเวลา 12.01 - 16.00 น. คิดเป็น 38.5 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือช่วงเวลา  16.01 - 20.00  น.  คิดเป็น  26 เปอร์เซ็นต์  และช่วงเวลา  20.01 - 00.00  น.  คิดเป็น  13.5 เปอร์เซ็นต์ และช่วงอายุของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต  อันดับ 1 อายุ 15 - 19 ปี  (28 ราย) คิดเป็น  21.2 เปอร์เซ็นต์รองลงมา  อายุ  30 - 39  ปี  (20 ราย)  คิดเป็น  15.2 เปอร์เซ็นต์  และ 25 - 29  ปี (20 ราย)  คิดเป็น  15.2 เปอร์เซ็นต์
 ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ตำบล/หมู่บ้านที่เกิดเหตุ (93 ราย)   คิดเป็น 70.5 เปอร์เซ็นต์  รวมมูลค่าความเสียหาย  ประมาณ   3,880,800  บาท เจ้าหน้าที่ตั้งจุดตรวจร่วมหลัก  628 จุด  เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน  17,739  คน เรียกตรวจยานพาหนะ  188,194  คัน  จำนวนที่ถูกดำเนินคดี  34,645  คัน  ผู้ทำผิด  34,677 คน








ข่าวที่เกี่ยวข้องสงกรานต์ กลับบ้านเรา มองผ่านเลนส์คม- เอาสงกรานต์คืนมา
'คนบันเทิง' ร่วมสาดสิ่งดีๆ
รับ "วันปีใหม่ไทย"

ไม้ไกล้ฝั่ง ที่ไม่ถูกลืม

หลวงพ่อวงศ์
พระนักสร้างถนน..."ดับแดนแดง"



NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive