Sunday, June 13, 2010

อภิสิทธิ์ยันเดินหน้าปฏิรูปท้องถิ่นคืนงบปี54ให้

อภิสิทธิ์ยันเดินหน้าปฏิรูปท้องถิ่นคืนงบปี54ให้



คมชัดลึก :นายกรัฐมนตรี ฝากสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ช่วยขับเคลื่อนแผนปรองดอง ประกาศเดินหน้าปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดันกฎหมายเพิ่มอีก 2 ฉบับ รับปากปีงบประมาณ 2554-55 คืนงบฯสวัสดิการให้ท้องถิ่น-จัดสรรงบฯร้อยละ 25 คุยการจัดเก็บเกินเป้า หลังแนวโน้มเศรษฐกิจฟื้น






 เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 13 มิ.ย.53 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 53  โดยมีผู้บริหารจากเทศบาลทั่วประเทศ 2006 แห่ง ประมาณ 4,000 คน เข้าร่วม
 นายอภิสิทธิ กล่าวว่า อยากใช้โอกาสนี้พูดถึงสถานการณ์บ้านเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงระยะเวลาการขับเคลื่อนแผนการฟื้นฟูการปฏิรูปและแผนการสร้างความปรองดอง ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองท้องถิ่นพิเศษ มีบทบาทอย่างมากในการทำให้กระบวนการฟื้นฟู ประสบความสำเร็จได้
 สำหรับนโยบายการกระจายอำนาจ  ซึ่งมีปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนในปัจจุบัน รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจ  โดยเฉพาะหลังจากที่มีรัฐธรรมนูญ ปี 2540  มีส่วนร่วมในการผลักดันการกระจายอำนาจ ตั้งแต่การออกกฎหมายลูกสำคัญๆในยุคนั้น
 นั่นคือกฎหมายแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และยังทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 "เหตุผลที่ผมมาใกล้ชิดกับการกระจายอำนาจ ด้วยความเชื่อว่า เครือข่ายของท้องถิ่น มีบทยาทอย่างสำคัญที่สุด ในการจัดทำบริการสาธารณะพื้นฐาน   ไปสู่พี่น้องประชาชน ทำตามความต้องการของพี่น้องประชาชน ซึ่งท่านทั้งหลายก็คือคนที่มาจากประชาชน และต้องอยู่ใกล้ชิดกับประชาชน"
 ซึ่งโดยกระบวนการนี้คือกระบวนการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระดับฐานราก ด้วยเหตุนี้ความพยายามที่จะเดินหน้า เรื่องของการกระจายอำนาจ เรื่องของศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น  เป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสนใจ และพยายามผลักดันมาตลอดเวลา ในระยะเวลา 1 ปีเศษที่ผ่านมา บวกกับระยะเวลาอีก 2 ปี ข้างหน้า การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง ในเชิงกฎหมาย ก็ยังคงเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องทำ ด้วยความร่วมมือ และด้วยความเข้าใจ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด
 "ยกตัวอย่าง เช่น กฎหมายซึ่งจะต้องตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งตามความเป็นจริงก็ล่าช้ามา เนื่องจากปัญหาทางการเมืองตั้งแต่ปี 2551 ที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยครั้ง  ทำให้กฎหมายหลักๆที่จะต้องปรับปรุงตามรัฐธรรมนูญใหม่มีความล่าช้า"
 แต่ก็ขอยืนยันว่านับตั้งแต่ที่เข้ามารับหน้าที่ ก็ได้ผลักดันกฎหมายทุกฉบับผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และเมื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฏษฎีกา แม้ว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไข หรือความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันอยู่บ้าง แต่หลักการและเนื้อหาสาระสำคัญนั้น
 รัฐบาลนี้ได้แสดงจุดยืนชัดในการที่จะยึดเอาแนวทางซึ่งได้มีการตกลงหารือกันในคณะกรรมการกระจายอำนาจ ซึ่งมีตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม เพราะฉะนั้น กฎหมายที่ยังค้างอยู่ 4 ฉบับหรืออาจจะมากกว่านั้นรัฐบาลก็ตั้งใจที่จะเร่งรัดให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร์และวุฒิสภา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัย นิติบัญญัติ ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนสิงหาคมปีนี้ ฉะนั้นสิ่งที่อยากจะเรียนเพิ่มเติมก็คือว่า เราคงไม่ได้ทำเฉพาะกฎหมายที่รัฐธรรมนูญบังคับให้มี  จะเห็นได้ว่าช่วงที่ผ่านมา เพิ่งเกิดปัญหาขึ้น มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
 เรารับฟังความคิดเห็นจากท้องถิ่น เช่น กรณีการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่น เกิน 2 วาระ เราก็เปิดช่องทางในการปรึกษาหารือ ดูบทบัญญัติที่เหมาะสม แล้วก็ผลักดันให้ออกมาเป็นกฎหมายได้  เพราะฉะนั้นเชื่อว่าในช่วง 1 ปีข้างหน้า นอกเหนือจากกฎหมาย 4 ฉบับแล้ว
 อย่างมีอีก 2 ฉบับที่เห็นว่า น่าจะมีสำคัญในแง่ของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา เรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก  ฉบับ 1 ก็เป็นร่างกฎหมาย ซึ่งคณะรัฐมนตรีเพิ่งให้ความเห็นชอบไป ก็คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน การบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 "จริงอยู่รัฐธรรมนูญ กำหนดหลักการในเรื่องการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในท้องถิ่นต่างๆไว้แล้วในบางเรื่อง เช่น การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติ เช่น การถอดถอน  การตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ครม.เห็นชอบการมีกฎหมาย การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของท้องถิ่น"
 ความมุ่งหวังของรัฐบาลคือ ความปรารถนาสูงสุดในการกระจายอำนาจ ไม่ต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เติบโตมาเป็นเหมือนกับระบบราชการในส่วนกลาง เพียงแต่เพิ่มขึ้นมาในจำนวน 7,000 8,000 หรือ10,000 กว่าระบบราชการที่เกิดขึ้นตามพื้นที่นั้นๆ
 รัฐบาลอยากเห็นท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ คือการทำงานที่พี่น้องประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง แน่นอนว่าเราก็คงยังพึ่งพากระบวนการเลือกตั้ง และระบบตัวแทน ไม่ว่าในส่วนสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น แต่สุดท้าย ประชาธิปไตยจะฝังรากลึกได้ นั่นหมายถึงว่าพี่น้องประชาชนต้องมีส่วนร่วม มากกว่าไปกว่าการมาลงคะแนนเสียง หรือแม้กระทั่งมากไปกว่า บทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นสิทธิของประชาชนเท่านั้น
 "กฎหมายฉบับนี้จะส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนสามารถที่จะริเริ่มในเชิงข้อบัญญัติและกฎหมาย หรือนโยบายต่างๆ ซึ่งต้องการที่จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น อำนายความสะดวก จัดกระบวนการ เพื่อที่จะให้การมีส่วนร่วมในลักษณะนี้ ทำได้ง่าย มีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์"
 เหมือนกับการเมืองระดับชาติ ว่าเราไม่ต้องการเห็นพี่น้องประชาชน ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือมาเลือกตั้ง และมาเดินขบวนเวลาไม่พอใจ เวลาที่เกิดความเดือดร้อน  แต่อยากเห็นประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองในเชิงสร้างสรรค ตลอดระยะเวลา ที่ผู้บริหารหรือผู้แทนของเขาดำรงตำแหน่ง ซึ่งรวมไปถึงการที่จะท้องถิ่นนั้น ได้มีการรายงานต่อประชาชน ในเรื่องการดำเนินการตามนโยบายในเรื่องของการใช้งบประมาณส่วนเงินภาษีอากรที่ได้มาจากพี่น้องประชาชน  เพราะฉะนั้นกฎหมายนี้ ซึ่งอาจจะมีการปรับแก้ เพื่อผนวกกับกฎประมวลกฎหมายท้องถิ่น หรือกฎหมายอื่นๆที่เป็นกฎหมายเฉพาะ ซึ่งจะเป็นกฎหมายสำคัญอีกฉบับ ซึ่งผลักดันให้การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นรากฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 
 "ผมเชื่อว่าหากกฎหมายฉบับนี้ออกมา เราก็จะได้เห็นรูปแบบการทำงานของท้องถิ่น ที่จะมีความใกล้ชิด มีการปรับเปลี่ยนไปสู่การทำงาน ร่วมกับภาคประชาชนได้อย่างแน่นแฟ้นมากขึ้น"
 และเชื่อว่าพื้นที่ๆเราจะเห็นรูปธรรมของความเปลี่ยนแปลง ก็จะเป็นพื้นที่ เทศบาลในเมือง เพราะจะมีความสะดวกและมีความตื่นตัวมากที่สุดในเรื่องของการช้สิทธิ การปฎิบัติหน้าที่ของพลเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตย
 นายอภิสิทธิ กล่าวว่า กฎหมาย ฉบับที่ 2 ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องของท้องถิ่นที่จะต้องมีการผลักดันเพิ่มเติมขึ้นมากอีก ก็คือการเริ่มการจัดตั้งท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้ก็มีการทำในกรณีของนครแม่สอด โดยอาศัยเหตุผลของความเป็นพื้นที่ ซึ่งมีความต้องการเฉพาะ หรือความต้องการพิเศษ ในการบริหารเศรษฐกิจชายแดน ที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับกฎหมายฉบับนี้ก็เนื่องจาก นอกเหนือจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ๆจะมีการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ  ซึ่งปัจจุบันมีเพียงกรุงเทพมหานคร กับเมืองพัทยา เท่านั้น  โดยแนวทางของการจัดทำทำร่างกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกระจายอำนาจ  มีความสำคัญเพิ่มเติมตรงที่ว่า จะเป็นท้องถิ่นพิเศษ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารเศรษฐกิจ หรือการค้าชายแดน แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ตามแนวทางที่มีการจัดทำร่างอยู่ในขณะนี้ จะทำให้เกิดรูปแบบของท้องถิ่น ซึ่งสามารถใช้อำนาจ ซึ่งเดิมเคยเป็นของส่วนกลาง  หรือส่วนภูมิภาคในบางเรื่อง ที่ท้องถิ่นไม่เคยมีอำนาจมาก่อน 
 "เราไปไกลถึงขั้นที่อาจจะให้ใช้อำนาจ ในเรื่องของการส่งเสริมการลงทุน และอาจจะไปบริหารในเรื่องของสิทธิประโยชน์ เรื่องภาษี อากร เรื่องของ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน อย่างนี้เป็นต้น"
 ถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกมาได้ถือเป็นมิติใหม่ของการปกครองส่วนท้องถิ่น  จะทำให้หลักคิดของเรื่องของการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เพิ่มเติม ขยาย และพัฒนา รูปแบบของท้องถิ่นนั้นพึงที่จะคำนึงลักษณะเฉพาะ ลักษณะพิเศษ ของแต่พื้นที่ และถ้าเป็นไปได้
 ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษแห่งใหม่นี้ เดินหน้าไปได้ด้วยดี ก็หวังว่ารัฐบาลในอนาคต ก็จะเริ่มแก้กฎหมายท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นแต่ละแห่งนั้น สามารถมีอำนาจพิเศษ ซึ่งอาจจะให้ทางรัฐบาลมกลาง โอนอำนาจต่างๆไปได้ โดยไม่ต้องแก้ไขเป็นพระราชบัญญติ  คือ การตราเป็นราชกฏษฎีกา เป็นต้น
 "นี่คือแนวคิดที่รัฐบาลอยากจะยืนยันว่า รัฐบาลนี้ ต้องการที่จะเห็นท้องถิ่นเดินไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ในการดูแลทุกข์สุขและบริหารทิศทาง นโยบายของประเทศชาติบ้านเมืองและประชาชน"
 ซึ่งการผลักดันกฎหมายต่างๆนั้น รัฐบาลทราบดีว่า ต้องใช้เวลา และจะมีแนวคิดที่หลากหลาย และแตกต่างกันบ้าง ก็หวังว่าท่านในฐานะเป็นผู้ดูแลท้องถิ่นโดยตรง จะให้การสนับสนุนในการขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นการเพิ่มพูนศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวมของประเทศ
 นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การบ้านที่รัฐบาลอยากฝากสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการล่วงหน้าก็คือ สิ่งที่เราพบเห็นในการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ ในปัจจุบันก็คือ การเติบโตอย่างรวดเร็วมากของสังคมเมือง ปัจจุบันสื่งเรากำลังพบเห็นก็คือว่า ท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการยกระดับจากสุขาภิบาลขึ้นมา จำนวนเทศบาลในประเทศเพิ่มขึ้นรวดเร็วมาก แต่สิ่งที่ต้องคิดต่อไปในอนาคต ก็คือความจริงแล้ว พื้นที่ของเทศบาลต้องขยาย  และรูปแบบการบริหารจัดการเมือง อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องมีท้องถิ่นที่อยู่ในเมืองจำนวนน้อยลง แต่พื้นที่ความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น และอาจจะต้องมีการปรับรูปแบบบริการที่จะให้กับประชาชนในเมือง ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่อไป ในอนาคตเช่นเดียวกัน
 "เหมือนที่กทม.ก็ถกเถียงกันมา ว่ากทม.ทำเรื่องใหญ่ๆต้องอาศัย องค์กรที่ดูแลพื้นที่จะกว้างขวางมาก เช่น ระบบขนส่งมวลชน  ซึ่งแม้ขณะนี้ก็มีปัญหา เวลาที่มีการต่อขยายไป สมุทรปราการ ต่อขยายไปปทุมธานี ไปสมุทรสาคร หรือพื้นที่อื่นๆ"
 แต่ขณะเดียวกันในกรุงเทพฯก็มีเสียงเรียกร้องว่า ตามเขตต่างๆก็อยากจะได้อำนาจเพิ่มขึ้น สำหรับการจัดการบริการบางอย่างเช่น การจัดเก็บขยะ ซึ่งไม่ต้องไปขึ้นพึ่งกรุงเทพฯ  ซึ่งคนที่จะตอบรัฐบาลได้ดีที่สุดว่า ข้อจำกัด ในเรื่องของรูปแบบ โครงสร้าง เมื่อเมืองเติบโตขึ้นไปอย่างก็คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 "อันนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ต้องเริ่มคิด ในการที่จะรับมือการเติบโตของสังคมเมือง และประเด็นของการบริหารจัดการเมือง บางประเด็นก็จะมีความรุนแรงมากขึ้นในสภาพของปัญหา เช่น เรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นต้น"
 ทั้งหมดเป็นสิ่งที่รัฐบาลอยากจะเรียนในแง่ของทิศทางในการพัฒนาในเชิงโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น โดยเฉพาะท้องถิ่นที่ดูแลสังคม
 นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาและอุปสรรคในช่วงที่รัฐบาลนี้เข้ามารับหน้าที่ในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็เป็นปัญหาซึ่ง ทางสมาคมฯ ได้พูดถึง คือ เรื่องปัญหางบประมาณ
 "ก็เป็นโชคไม่ดี ทุกครั้งที่ผมมาอยู่ในฝ่ายผู้บริหารบ้านเมือง ก็ต้องเผชิญกับปัญหาวิฤติทางด้านเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นผมทราบดีว่าในปีงบประมาณปัจจุบัน ท้องถิ่นจำนวนมากประสบกับสภาพปัญหา ในเรื่องของความไม่เพียงพอของงบประมาณ"
 รัฐบาลก็พยามยามแก้ไขอย่างดีที่สุดบางครั้งตอนนี้ คนผ่านวิฤติเศรษฐกิจรุนแรงมากที่สุดในปลายปี 2551 ไปแล้ว ก็ลืมและมองข้ามสภาพปัญหาข้อจำกัดงบประมาณที่มีอยู่ในปัจจุบัน มันเป็นผลพวงมาจากตรงนั้นอยู่ด้วย  และเพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ เวลางบประมาณท่านไม่พอ ท่านก็จะวิ่งไปของงบฯกลาง แต่ผมก็อยากจะชี้ให้เห็นว่า ไม่ใช่เฉพาะท้องถิ่นเท่านั้นในปีงบประมาณนี้ สำนักนายกรัฐมนตรี งบประมาณต้องลดลงไปถึงร้อยละ 45 คือเกือบ ครึ่งหนึ่ง เพราะในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจการจัดเก็บรายได้ การจัดเก็บภาษี เงินมันหายไปประมาณเกือบ 200,000 ล้านบาท
 "งบฯกลางปีนี้ ผมตั้งไว้น้อยกว่าปีที่แล้ว กว่า 10,000 ล้านบาท และขณะนี้ปีงบประมาณอีก 3-4 เดือนข้างหน้า งบประมาณที่เหลือในขณะนี้จะอยู่ที่ 6,000-7,000 ล้านบาทเท่านั้น"
 รัฐบาลต้องเรียนว่า รัฐบาลต้องสำรองไว้สำหรับเรื่องของภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเป็นสำคัญ และไม่เฉพาะท้องถิ่น ทุกกระทรวง ทบวง กรม ได้บอกไแล้ว ว่า การของบฯกลางจะทำได้ค่อนข้างยาก เพราะมีสิ่งที่เราจะทำก็คือ สำรองเงินไว้ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนโดยตรง
 แต่แน่นอนอะไรที่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ไปสร้างข้อจำกัดให้กับท้องถิ่น เราก็แก้ไขไป ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆนี้ คณะรัฐมนตรีก็ทราบว่า มีนโยบายเรื่องของค่าอาหารกลางวันจากวันละ 10 บาทเพิ่มเป็น 13 บาท แล้วก็ทราบด้วยว่า ตัวเลขของนักเรียนสูงกว่าที่มีการกำหนดไว้
 กระทรวงมหาดไทยก็เสนอเรื่องขอรับการสนับสนุนงบกลางจากรัฐบาล คณะรัฐมนตรีก็อนุมัติให้แม้ว่าไม่เป็นจำนวนทั้งหมด แต่ก็ถือว่าอนุมัติที่ถือว่าเพียงพอต่อเทอมนี้  ในปีการศึกษานี้ ส่วนการปีการศึกษาต่อไปนั้น ก็สามารถปรับเข้าไปสู่ระบบของงบประมาณปี 2554 ได้
 ล่าสุดก็ยังมีคำร้องเข้ามาในเรื่องของเบี้ยเสี่ยงภัยในพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้  แล้วก็อาจะเรื่องนโยบายอื่นอย่างนี้เป็นต้น ก็ขอเรียนว่า รัฐบาลก็ให้ความสำคัญกับข้อจำกัดที่เกิดขึ้นกับท้องถิ่น  แล้วก็จะบริการและจัดการแก้ไขไป 
 ส่วนปี 2554 นั้นสถานการณ์น่าจะดีขึ้น ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าเราจัดเก็บรายได้เกินเป้าในปีนี้ แล้วก็มีการตั้งงบประมาณไว้สูง แต่ว่าขณะเดียวกันงบประมาณก็จำเป็นที่จะต้องเอาแผนในเรื่องของไทยเข้มแข็งที่เคยจะมีการออกพระราชบัญญัติ 400,000 ล้านไปกู้เพิ่มเติม
 แต่เมื่อรัฐบาลเห็นว่าเมื่อฐานะทางการคลังดีขึ้น สิ่งแรกที่ควรจะทำก็คือยกเลิกในเรื่องการกู้เงินพิเศษ เพื่อให้เรามีความมั่นคงในเรื่องฐานะการเงินการคลังสำหรับอนาคต อย่างไรก็ตามการจัดสรรงบประมาณของท้องถิ่นก็ดีกว่าปีงบประมาณ 53 แน่นอน ฉะนั้นความห่วงใยของท้องถิ่น ซึ่งถ่ายทอดมาถึงรัฐบาล ซึ่งขณะนี้กำลังกังวลเรื่องของการแปรญัตติในสภาผู้แทนราษฎร์  จึงอยากจะเรียนว่าในการประชุมคณะกรรมาธิการของรัฐบาลและส่วนของพรรคฯ ได้ย้ำไปแล้วว่ารัฐบาลต้องการที่จะให้ท้องถิ่นมีงบประมาณที่เพียงพอ และมีความเป็นอิสสระในการที่จะใช้จ่าย และถ้าเป็นไปคณะกรรมาธิการก็คงควรจะต้องดูแล ส่งเสริมสนับสนุน นโยบายการกระจายอำนาจให้มากที่สุด แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องติดตามการทำงาน และทำงานใกล้ชิดกับคณะกรรมาธิการงบประมาณ แล้วก็บอกกับรัฐบาลหากมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น
 "เรื่องใหญ่ที่ท้องถิ่นได้ร้องมากก็คือค่อนข้างมากก็คือ งบประมาณของท้องถิ่น หรือที่คิดเป็นสัดส่วนของท้องถิ่นในปัจจุบัน ได้นับรวมกับงบประมาณซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล เป็นกรณีของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เรื่องการศึกษา เรื่องอสม."
 ซึ่งท้องถิ่นอาจจะมองว่า นโยบายเหล่านี้ งบประมาณเหล่านี้ จะนับเป็นของท้องถิ่นเสียทีเดียวคงไม่ถูกต้องนัก เพราะเป็นนโยบายจากรัฐบาล  รัฐบาลอยากจะบอกว่าเหตุผลว่า ที่เราได้ตั้งไว้ในสัดส่วนของท้องถิ่นนั้น ก็เพราะว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้ที่จะต้องเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการในเรื่องนี้ ซึ่งก็เริ่มต้นตั้งแต่ขึ้นทะเบียน ลงไปถึงการตรวจสอบความถูกต้อง ของการที่จะต้องมีการจ่ายเงินต่างๆไปยังพี่น้องประชาชนในพื้นที่ของท่าน และรัฐบาลก็คิดว่างานทางด้านสวัสดิการ งานทางด้านสังคมนั้น นับวันท้องถิ่นก็จะต้อง มีส่วนร่วมในการจัดทำมากขึ้น และก็เป็นส่วนหนึ่งของการปรับมุมมองของประชาชนที่มีต่อท้องถิ่น ซึ่งมักจะมองและคาดหวังไปที่เรื่องการบริหารสาธารณะ ที่เป็นเรื่องการก่อสร้างเสียส่วนใหญ่  แต่ว่าอย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2555  ปีหน้า เป็นต้นไปผม ก็ได้ปรึกษากับหลายๆฝ่ายแล้ว แล้วก็ตั้งเป้าว่าจะนำเอางบส่วนนี้ คืนกลับมา  แทนที่จะนับรวมในงบของท้องถิ่น   แล้วก็จะต้องดูแลว่างบของท้องถิ่นนั้น จะต้องได้เกินร้อยละ 25   อันนี้ได้ปรึกษาทางการทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงบประมาณ และผู้แทนของท้องถิ่น
 เพียงแต่ว่าต้องทำ 2 เรื่องเรื่องแรกคือ ทางท้องถิ่นก็ต้องช่วยบริหารจัดการ เรื่องนี้ต่อไป  สามารถที่จะดูเรื่องของความถูกต้องในการจ่ายเงิน ความตรงต่อเวลาในการจ่ายเงินในเรื่องต่างๆเหล่านี้ได้ เพื่อเป็นหูเป็นตาให้กับรัฐบาล  เรื่องที่ สอง เมื่อถอดงบส่วนนี้ออกมาจากสัดส่วนที่นับรวมเป็นของท้องถิ่น ก็จะต้องมีการเพิ่มเงินในส่วนอื่นๆขึ้นมา ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ผมตั้งใจว่าการประชุมคณะกรรมการกระจายอำนาจที่จะมีขึ้นครั้งต่อไปในเร็วๆนี้ จะได้มีการตั้งคณะทำงานตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ท้องถิ่นกับสำนักงบประมาณได้ ทำความเข้าใจที่ตรงกัน
 ในการที่จะเพิ่มสัดส่วนงบประมาณในปีงบประมาณในปีงบประมาณ 2554-55 จะเป็นอย่างไร เพราะยังมีความไม่ลงตัว ความเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เงินอุดหนุนทั่วไป และเรื่องอื่นๆ  เพราะฉะนั้นขอเรียนผมทราบว่ายังมีอยู่ หลายปัญหา หลายข้อจำกัด ที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของท้องถิ่น ซึ่งท้องถิ่นเป็นกังวลอยู่ ซึ่งขอยืนยันว่า ผมติดตามอย่างใกล้ ชิด ไม่ได้เพิกเฉยและก็พยามที่คลายปัญหาไปตามลำดับ ซึ่งจะดีขึ้น เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาอย่างชัดเจน
นายอภิสิทธิ์กล่าววว่า ประเด็นสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับอุปสรรคปัญหาอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือรายได้ที่ท้องถิ่นเคยได้จากภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งรัฐบาลมีมาตรการผ่อนผัน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งกระทบกับรายได้ของท้องถิ่นมาโดยตลอด ความจริงรัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะยกเลิกมาตรการนี้                  แต่ก็มาเกิดเหตุความไม่สงบทางการเมือง ช่วงนั้นทำให้มีผู้คนจำนวนมากร้องเข้ามาว่า ตั้งใจที่จะไปจดทะเบียนในเรื่องของนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเรื่องต่างๆเหล่านี้ แต่ในที่สุดทำไม่ได้ เพราะว่าติดขัดปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากการชุมนุม หรือความไม่สงบทางการเมือง                รัฐบาลก็จำเป็นที่จะต้องยืดระยะเวลามาตรการดังกล่าวออกไปอีก ในขณะที่ภาคเอกชนก็ร้องมาอีกว่า อยากจะให้ต่ออายุมาตรการนี้ต่อไป  ซึ่งเดิมทีมีการเสนอในครม.ที่จะต่อไปถึงสิ้นปี หรืออีก 1 ปี แต่ก็ขอเรียนว่า ทั้งผมและกระทรวงมหาดไทยขอว่า               อย่าเพิ่งตัดสินใจต่อมาตรการนี้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทบกับท้องถิ่น เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ผมก็จะไปพูดคุยกับทางกระทรวงการคลัง และก็การประชุมร่วมของภาคเอกชนกับรัฐในเรื่องเศรษฐกิจต่อไป
 "สำหรับผมมาตรการอยากให้มาตรการนี้เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ไม่มากระทบกับท้องถิ่น ก็ต้องฟังเสียงจากทุกๆฝ่าย"                ทั้งหมดก็คืองานของท้องถิ่น ซึ่งรัฐบาลยังคงเดินหน้าในการที่จะสนับสนุนคลี่คลาย ปัญหา และอุปสรรคปัญหาต่างๆ และขอขอคุณที่ผ่านมา ที่ได้รับความร่วมมือ ความเข้าใจเป็นอย่างดี แม้ทราบว่าหลายท่านเผชิญกับปัญหา อุปสรรค และความยากลำบาก และอาจจะยังไม่พอใจ
 "ตอนนี้เท่าที่ทราบผมถูกฟ้องแค่เรื่องเดียว คือเรื่องภาษีล้อเลื่อน เรื่องของการจัดสรรรายได้ ระหว่างอบจ.กับเทศบาล  เป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการไปตามกระบวนการของกฎหมาย และหวังว่าจะไม่มีเพิ่ม ในการฟ้องร้องระหว่างท้องถิ่นกับรัฐบาล"                นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง เรื่องสถานการณ์บ้านเมือง ว่า เป็นเรื่องที่ตั้งใจจะมาพูดกับทางท้องถิ่นในวันนี้ และโดยเฉพาะความตั้งใจของรัฐบาลในการที่จะขับเคลื่อน กระบวนการ การฟื้นฟูประเทศ  การปฏิรูป และการสร้างความปรองดองในชาติ              
 "ผมจะไม่พูดซ้ำกับสิ่งที่ผมได้พูดผ่านสื่อสารมวลชน หลายต่อหลายครั้งแล้ว แต่อยากจะเรียนว่า แผนการฟื้นฟู แผนการปรองดอง หรือการปฏิรูป มันไม่ใช่เรื่องการเมือง รัฐบาลชุดปัจจุบัน แม้ว่าอยู่ครบวาระ ก็อยู่อีกเพียงปีกว่า ก็จะต้อมีการเลือกตั้งทั่วไป"                พี่น้องประชาชนก็จะมีโอกาสใช้สิทธิ์ เลือกผู้แทนราษฎร์ สภาฯก็จะเลือกนายกรัฐมนตรี   แล้วก็มีรัฐบาลชุดใหม่ และผมเองก็พูดหลายครั้งว่า นั่นคือกรณีที่อยู่ครบวาระ  ซึ่งจริงๆแล้วเราก็คิดว่า หากสถานการณ์  บ้านเมืองมีความสงบมีความเหมาะสม
               และคิดว่าการเลือกตั้งใหม่จะมีส่วนช่วยในการเดินหน้า หรือแก้ไขปัญหาของประเทศได้  ผมเองก็ไม่เคยปฏิเสธ แนวคิดเรื่องของการยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้น   แต่ถ้าเราจะเลือกตั้งเร็วขึ้น มันต้องตอบคำถามได้ว่า ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองอย่างไร               และสิ่งสุดท้ายที่เราต้องการก็คือว่า ถ้าแม้มีการเลือกตั้งกลับปรากฎว่า เป็นการเลือกตั้งที่มีความรุนแรง เราก็ทำร้ายกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศ  ถ้าเราเลือกตั้งแล้วผลออกมา ไม่เฉพาะผลของการเลือกตั้ง แต่เป็นทางกฎหมายสืบเนื่องจากการเลือกตั้ง               เช่นการเพิกถอนสิทธิ์ การยุบพรรค กลับกลายเป็นเรื่องโต้แย้ง ขัดแย้งกันอีก เราก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร เพราะฉะนั้นการตัดสินใจทางการเมือง ของรัฐบาล ไม่ได้คิดผลทางการเมืองระหว่างพรรคการเมือง  แต่คิดถึงว่าทำอย่างไรบ้านเมืองเราเดินไปข้างหน้า ในลักษณะที่สงบ  สันติ มีความยอมรับทุกฝ่าย เพราะที่สุดเวลาเกิดความวุ่นวายทางการเมือง ความเสียหาย ความสูญเสียที่เกิดขึ้น มักจะไม่ได้เกิดขึ้นกับนักการเมือง  แต่เกิดกับพี่น้องประชาชน     "ท่านดูเถอะครับ เราก็เสียใจกันทุกคน กับความสูญเสียที่เกิดขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา สูญเสียยิ่งใหญ่ที่สุดคือการสูญเสียชีวิต ถามว่าทุกครั้งที่มีเหตุการณ์อย่างนี้ ครั้งนี้ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น คนเสียชีวิตนักการเมือง หรือประชาชน"
               พี่น้องประชาชนที่เข้ามาอยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งบอกว่าเริ่มต้นจากการเมือง แต่สุดท้ายความสูญเสียตกอยู่กับประชาชน ประชาชนที่เดือดร้อนจากการชุมนุมทางการเมือง ที่บอกว่าเริ่มต้นเป็นการชุมนุมทางการเมือง และจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ก็ไม่ใช่นักการเมืองครับ                แต่เดือดร้อนทั้งในเรื่องจิตใจ  ทั้งในเรื่องสังคม ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ ว่าไปแล้วท้องถิ่นซึ่งพยามทำหน้าที่ ก็ยังเดือดร้อน  หลายพื้นที่ๆมีความไม่สงบ  การท่องเที่ยวมันหาย รายได้ไม่มี  คนที่เดือดร้อนก็คือประชาชน ที่ควรจะได้เงินงบประมาณในการพัฒนา บริการสาธารณะ โครงสร้างพื้นฐาน                ไม่นับว่าบางเทศบาลก็ถูกเผาไปด้วย รถดับเพลิงเสียหายไปด้วย ซึ่งสุดท้ายเวลที่ทำการเสียหาย รถดับเพลิงเสียหาย ต้องมาเอาเงินภาษีอากรของประชาชน ไปสร้าง เพื่อทดแทน ผมจึงอยากจะเน้นย้ำว่า ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่               ผมมั่นใจ100 เปอร์เซ็นต์ว่า จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยเดินหน้าได้  ทำอย่างไรให้เกิดความสงบ สันติ ทำอย่างไรที่จะฟื้นฟูทั้งสภาพทางกายภาพ ทั้งจิตใจ  ทั้งภาพลักษณ์ของท้องถิ่นตัวเอง ชุมชนตัวเอง เมืองตัวเอง ไปจนถึงประเทศไทย อันเป็นที่รักของเรา
              "นี่ต่างหากคือความต้องการของประชาชน ผมทราบดีว่า รัฐบาลเองก็ถูกมองว่า เป็นคู่กรณี ผมก็เป็นนักการเมือง ถ้าบอกว่าปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเมือง ผมก็ต้องบอกว่านักการเมืองผิดด้วยกันทุกคน"              แต่แผนปรองดอง แผนฟื้นฟู แผนปฏิรูปที่ทำขึ้นวันนี้   ผมยืนยันว่าไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของการเมืองฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่เป็นความพยายามที่จะรักษาการเมืองในระบอบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติย์ทรงเป็นประมุข การเมืองในระบบรัฐสภา การเมืองที่ยังต้องมีนิติรัฐ การเมืองที่จะต้องนิติธรรม  เพื่อที่จะฟื้นฟูประเทศ   
   "ผมระมัดระวังมาก   แม้ฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ แล้วเสนอแผน 5 ข้อ ผมก็ย้ำว่า 5 ข้อ จะสำเร็จได้ คนที่เป็นเจ้าของ 5 ข้อ ต้องไม่ใช่นายกรัฐมนตรี  หรือรัฐบาล แต่ต้องเป็นประชาชนคนไทย และทุกภาคส่วน"
              ทั้ง 5 ข้อผมจึงอยากจะมาขอความร่วมมือ จากท่านทั้งหลาย ซึ่งมีอิทธิพลไม่มากก็น้อยต่อชุมชนเมือง ทั้งประเทศ ผมทราบว่าหลายเรื่องท่านทำอยู่  มีแผนอยู่ หรือได้เริ่มขับเคลื่อนด้วยตัวเองไปบ้างแล้ว ยกตัวอย่างเช่น การที่ท้องถิ่น ได้ทำงาน สานต่อ ขยายผล โครงการปิดทองหลังพระ               เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ตอบสนองแผนปรองดอง อย่างน้อย 2 ข้อ ทั้งในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูล และการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัติย์ พร้อมๆไปกับการใช้โครงการนี้เข้าไปพัฒนา ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม อย่างนี้เป็นต้น นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดี              และผมเชื่อว่านอกเหนือจากโครงการนี้แล้ว เทศบาล หรือท้องถิ่นอีกหลายแห่ง ก็ได้จัดกิจกรรม โครงการที่เข้ามาตอบสนองแผนทางด้านนี้ได้  กรณีของการลดความเหลื่อมล้ำของความไม่เป็นธรรมนั้น ก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ผมต้องขอความร่วมมือว่า  ขณะนี้เรากำลังส่งเสริมระบบสวัสดิการชุมชน เรื่องของการสร้างโอกาส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาเด็ก เยาวชน ท้องถิ่นสามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมในส่วนนี้ได้ ก็จะทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ซึ่งมักถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเงื่อนไขความขัดแย้ง เป็นอีกด้านที่เราสามารถที่จะแก้ปัญหาได้  
 








ข่าวที่เกี่ยวข้องมาร์คชี้ปชต.ไม่ใช่แค่เลือกตั้งก่อม็อบทหาร-ตร.รปภ.นายกฯประชุมส.ท.ท.ที่หาดใหญ่อภิสิทธิร่วมถกอปท.ทั่วประเทศ14มิ.ย.ที่หาดใหญ่สาทิตย์ยันรัฐบาลใจกว้างรับฟังข้อเสนอทักษิณ พุธที่ 9 มิถุนายน 2553



NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive