Thursday, April 29, 2010

จิตรกรรมฝาผนัง เมืองดอกบัว สะท้อนเรื่องราวของยุคสมัย

จิตรกรรมฝาผนัง เมืองดอกบัว สะท้อนเรื่องราวของยุคสมัย





คมชัดลึก : มาแวะที่วัดคู่บ้านคู่เมืองดอกบัว (อุบลราชธานี) อย่างวัดทุ่งศรีเมือง เป็นอีกหนึ่งแห่งที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามและมีเอกลักษณ์อยู่ภายในพระอุโบสถที่ยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่หลายจุดด้วยกัน








 ภาพเขียนเหล่านี้เป็นเสมือนสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น เพราะเมื่อมองไปที่ผนังโบสถ์ก็จะเข้าใจเรื่องราวที่พระสงฆ์กำลังเทศนาอยู่ได้ง่ายยิ่งขึ้นที่แตกต่างกันไป
 ในแต่ละที่ช่างเขียนจะสร้างงานที่บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเองเอาไว้เสมอๆ เช่น ทางซ้ายของพระประธานจะมีรูปช้างก้าวเดินไปตามก้อนหิน พยายามจะนำดอกไม้ไปถวายแด่องค์พระพุทธเจ้า แต่แทนที่จะเป็นรูปช้างที่เห็นการเดินตามแนวลำตัวโดยทั่วไป
 ช่างเขียนผู้นี้นำเสนอโดย วาดรูปช้างในมุมมองแบบนก คือมองเห็นหลังช้างจากด้านบน ด้วยท่าทางที่มุ่งมั่น หรือใส่อารมณ์ขันเข้าไว้ในงาน ในภาพวิถีของชาวบ้านบริเวณด้ายซ้ายของโบสถ์ในช่วงด้านหน้าซ้าย เป็นรูปหญิงชาวบ้านนั่งไม่ทันได้ระวังตัว
 จิตรกรรมฝาผนังอายุกว่า 100 ปี เริ่มมีสีซีดจางไปตามอายุ เป็นผลพวงมาจากสภาพแวดล้อม แต่ไม่เสียหายเท่ากับการจับต้องของผู้ที่เข้าชม โดยเฉพาะภาพที่อยู่ด้านล่าง ในเมื่อได้ชมความงามของภาพเหล่านี้แล้วไม่ควรลืมว่าทุกคนมีหน้าที่รักษาสมบัติชิ้นนี้ด้วยความสำนึกทั่วกัน
 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 2 ทรงให้ความสำคัญกับหัวเมืองทางอีสาน ทำให้มีการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างเมืองหลวงกับเมืองอุบลฯ ทำให้สถาปัตยกรรมของเมืองหลวงเข้ามาแผ่อิทธิพลทางอีสาน โดยเห็นจากสถาปัตยกรรมของโบสถ์วัดทุ่งศรีเมืองแห่งนี้ หรือที่เรียกว่าหอพระพุทธบาท เนื่องจากสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง
 รูปแบบเป็นการผสมผสานความเชื่อท้องถิ่นกับเมืองหลวง โดยที่หน้าบันเป็นลวดลายสาหร่ายรวงผึ้ง ฐานเอวขัน บันไดจระเข้ และเฉลียงด้านหน้าคงเอกลักษณ์ของสิมอีสาน โครงสร้างช่วงบนเป็นหลังคาทรงจั่วมีชั้นลด 2 ชั้น รวยลำยองมีช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ ทวยและซุ้มประตูหน้าต่างแบบเมืองหลวง
 ภายในเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเงิน ด้านในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ใช้โทนสีจัดจ้านได้แก่ แดง น้ำเงิน ขาว เหลือง เขียว และน้ำตาล เป็นสีหลัก ทำให้ภาพดูน่าสนใจ น่าติดตาม
 ในการเขียนภาพเรื่องราว ไล่เรียงจากซ้ายไปขวา ภาพเทพชุมนุม พุทธประวัติตอนผจญมาร และปรินิพพาน ภาพชาดก ได้แก่ ปาจิตต์กุมารชาดก และมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์ต่างๆ
 ภาพจิตรกรรมเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเจริญของบ้านเมือง การประกอบอาชีพ การละเล่น พิธีกรรม การแต่งกายและทรงผม
"กิตตินันท์ รอดสุพรรณ" kittinun@nationgroup.com










NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive