Wednesday, March 31, 2010

ภาคปชช.เสนอรบ.ไทยกดดันจีนอธิบายจัดการน้ำโขง

ภาคปชช.เสนอรบ.ไทยกดดันจีนอธิบายจัดการน้ำโขง



คมชัดลึก :อาศัยไทยเจ้าภาพถกประเทศลุ่มน้ำโขง เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม เตรียมนำปัญหาสะท้อนเข้าสู่เวทีการหารือกดดันรัฐบาลจีน เอ็นจีโออีสานจี้ให้คายข้อมูลการสร้างเขื่อน-ปริมาณการกักเก็บน้ำ เพื่อนำไปสู่การกำหนดทิศทางการพัฒนาแม่น้ำโขงอย่างเป็นรูปธรรม








 (31มี.ค.) นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เขตล้านนา เปิดเผยว่า  การประชุมของผู้นำรัฐบาลแต่ละประเทศในกลุ่ม MRC รวมถึงประเทศจีนที่จะเข้าร่วมการหารือ เพื่อแก้ไขและถกปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขง ที่จะมีขึ้นที่จ.ประจวบครีขันธ์   ทางกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เขตล้านนา จะได้มีการนำเสนอ 2 ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนของจีนที่ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาทิ ปัญหาน้ำท่วมหนักในปี 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการเริ่มสร้างเขื่อนของประเทศจีน จนมาถึงในปี 2553 ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงถึงขั้นวิกฤติ ซึ่งปัญหาทั้งหมดล้วนเป็นผลสืบเนื่องมาจากการสร้างเขื่อนของจีนทั้งสิ้น
 "ในส่วนของภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือหรือภาคอีสาน ก็จะมีการจัดเวทีคู่ขนาน   ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อหยิบยกปัญหาที่เกิดขึ้นจากผลกระทบต่างๆที่ผ่านมา ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน โดยแต่ละพื้นที่จะมีการสรุปหัวข้อและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้ทำหนังสือส่งไปยังรัฐบาล เพื่อขอให้ช่วยนำเสนอไปยังรัฐบาลจีนอีกทอดหนึ่ง"
  เขา กล่าวว่า ทางกลุ่มเครือข่ายฯ อยากให้จีนยุติการสร้างเขื่อนที่เหลือทั้งหมด และในส่วนของเขื่อนที่สร้างเสร็จแล้ว ก็น่าจะมีการบริหารจัดการน้ำให้ดีกว่านี้ เพื่อให้ทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศต้นน้ำหรือปลายน้ำ ได้ใช้แม่น้ำโขงร่วมกัน โดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ อย่างที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
 นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน (ศสส.) เปิดเผยว่า การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (เอ็มอาร์ซี) ที่กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 2-5 เม.ย.ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่า ก่อนคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงจะมีการประชุม ทางกลุ่มภาคประชาสังคม ทั้งเอ็นจีโอ นักวิชการ ตัวแทนลุ่มน้ำต่างๆ จะมีการประชุมหารือเพื่อหาข้อสรุปในวันที่ 1-2 เม.ย.ก่อนที่จะเสนอต่อรัฐบาลต่อไป
 "ในฐานะที่ไทยเป็นประธานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ผมเห็นว่ารัฐบาลไทยน่าจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ซึ่งทิศทางการพัฒนานั้นจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน โดยเฉพาะข้อเสนอของ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ระบุว่าจะเสนอให้มีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงทั้ง 7 แห่งใน 4 ประเทศตอนล่างนั้น ท่าทีตรงนี้รัฐบาลไม่ควรตั้งธงไว้ หรือไม่ควรยุติข้อเสนอที่จะให้มีการสร้างเขื่อน เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งที่น้ำโขงแห้งมาจากการที่ประเทศจีนสร้างเขื่อน หากมีการสร้างเขื่อนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างอาจส่งผลกระทบต่อชุมชน"
 นอกจากนี้ ในฐานะที่ไทยเป็นประธานเอ็มอาร์ซี ควรแสดงท่าทีต่อจีน เพื่อให้รัฐบาลจีนเปิดเผยข้อมูลการสร้างเขื่อน ปริมาณการเก็กกับน้ำในอ่างเก็บน้ำทุกแห่ง ไม่ใช่เปิดเผยเพียงบางส่วน ซึ่งหากจีนยอมเปิดเผยข้อมูล จะทำให้กลุ่มประเทศสมาชิกได้กำหนดทิศทางการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างเป็นรูปธรรม
 "ตลอดระยะเวลา 15 ปี ของการก่อตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ผมมองว่าถือเป็นความล้มเหลว เพราะที่ผ่านมากรอบความร่วมมือของประเทศสมาชิกจะเน้นพัฒนาลุ่มน้ำโขงในด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นการพัฒนาลุ่มน้ำโขงต่อไปจะต้องมีมิติทางด้านสังคม และวัฒนธรรม ควบคู่กับเศรษฐกิจ ซึ่งในเวทีการหารือในครั้งนี้เป็นไปได้ไหม ที่รัฐบาลไทยจะเสนอให้มีการจัดตั้งเครือข่ายแม่น้ำโขงเข้าไปนั่งเป็นกรรมการเอ็มอาร์ซี"
 นายสุวิทย์ กล่าวว่า การประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงในครั้งนี้ การที่ทางการจีนตอบรับเข้าร่วมประชุม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี อีกทั้งตนยังมองว่าจีนเองก็อยากจะพิสูจน์ให้ประเทศสมาชิกเอ็มอาร์ซีมองว่ามีความจริงใจที่จะร่วมแก้ปัญหาวิกฤติแม่น้ำโขงที่เกิดขึ้นในขณะนี้เช่นกัน
 มูลนิธิน้ำและคุณภาพชีวิต รับนอกจากจีนสร้างเขื่อนจนทำให้น้ำโขงตอนล่างแห้งแล้งแล้ว ส่วนหนึ่งยังมาจากลาวกั้นลำน้ำสาขาเพื่อกักเก็บน้ำเติมเขื่อนในการผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 4 แห่ง วอนที่ประชุมเอ็มอาร์ซีจี้จีน-ลาวปล่อยน้ำช่วงหน้าแล้งเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
 แหล่งข่าวจากมูลนิธิน้ำและคุณภาพชีวิต เปิดเผยว่า สาเหตุที่น้ำโขงแห้ง  ส่วนหนึ่งมาจากจีนที่กั้นเขื่อน แต่จากข้อมูลที่ปรากฎ พบว่าน้ำต้นทุนที่ไหลเข้าแม่น้ำโขง ที่อยู่ในเขตของประเทศจีน มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 16 เท่านั้น ขณะที่ สปป.ลาว มีสัดส่วนถึงร้อยละ 35 และสาเหตุที่ทำให้แม่น้ำโขงตอนล่างแห้งขอด ก็เนื่องมาจากขณะนี้ลาวได้ทำการสร้างเขื่อนจำนวน 8 แห่ง มีการกักเก็บน้ำแล้ว 4 แห่ง อาทิ เขื่อนน้ำงึม เขื่อนน้ำซอง เขื่อน้ำเทิน-หินบู แม่น้ำเหล่า ซึ่งถือเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงที่จันได้กักเก็บน้ำไว้ เมื่อถึงหน้าแล้ง จีนไม่ปล่อยน้ำลงมา ขณะที่ลาวก็เริ่มกักเก็บน้ำ เมื่อน้ำด้านบนถูกเก็บ ทำให้ลุ่มน้ำโขงตอนล่างประสบปัญหาภัยแล้ง
 แหล่งข่าวยังระบุด้วยว่า ขณะนี้จีนได้งดเดินเรือขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว เนื่องจากว่าอยู่ในช่วงการระเบิดสันดอน เพื่อเปิดทางเดินเรือได้สะดวก พร้อมกับกำหนดว่า ในวันที่ 1 พ.ค.จึงจะสามารถเดินเรือจากเมืองเชียงรุ้ง ประเทศจีน มายัง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ได้
 "นับจากนี้ต่อไปอีก 3 ปี แม่น้ำโขงจะประสบปัญหาภัยแล้ง เพราะอยู่ในระหว่างการสร้างเขื่อน ทั้งในจีนและลาว เมื่อกักเก็บน้ำเต็มเขื่อนเพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้แล้วในอีก 3 ปี ข้างหน้าแม่น้ำโขง จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เพราะเขื่อนต่างๆ ทั้งในลาวและจีนสร้างแล้วเสร็จ ดังนั้น การที่น้ำโขงแห้งจะไปโทษจีนฝ่ายเดียวก็ไม่ได้"
 แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ในการประชุมเอ็มอาร์ซี หวังว่ารัฐบาลไทยในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเอ็มอาร์ซีจะขอความร่วมมือไปยังประเทศจีน และลาวที่สร้างเขื่อนกักน้ำโขงและลำน้ำสาขา ให้ปล่อยน้ำลงสู่น้ำโขงตอนล่างในช่วงฤดูแล้ง ทั้งนี้เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ








ข่าวที่เกี่ยวข้องกลุ่มสันติวิธีให้กำลังใจอภิสิทธิ์เปิดเวทีเจรจาจีนกำลังประสบภัยแล้งอย่างหนักในหลายมณฑลอ้างสุดวิสัยบึ้ม"มูลนิธิเปรมรับกันยาก จ.ม.ถึงผู้แทน
ถึงคุณสุวิทย์
ผบช.ภ.7ย้ำแผนสำรองอารักขาผู้นำลุ่มน้ำโขง

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive