Wednesday, March 31, 2010

จีนกำลังประสบภัยแล้งอย่างหนักในหลายมณฑล

จีนกำลังประสบภัยแล้งอย่างหนักในหลายมณฑล



คมชัดลึก :มูลนิธิน้ำและคุณภาพชีวิต รับนอกจากจีนสร้างเขื่อนจนทำให้น้ำโขงตอนล่างแห้งแล้งแล้ว ส่วนหนึ่งยังมาจากลาวกั้นลำน้ำสาขาเพื่อกักเก็บน้ำเติมเขื่อนในการผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 4 แห่ง วอนที่ประชุมเอ็มอาร์ซีจี้จีน-ลาวปล่อยน้ำช่วงหน้าแล้งเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ อีสานตอนล่างแล้งหนักประกาศพื้นที่ประสบภัย61อำเภอ นพค.56ตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยช่วยเหลือ








(31มี.ค.) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรน้ำของจีน นายหลิว หนิง แถลงวันนี้ว่า ฝนที่ตกในเขตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนหลายล้านคนในพื้นที่ ที่กำลังเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 100 ปี   ที่ส่งผลกระทบประชาชนราว 61 ล้านคน ทั้งในมณฑลกุ้ยโจว เสฉวน กวางสี และเมืองฉงจิ้ง มาตั้งแต่ปีที่แล้ว
ทางการจีนบอกว่าจนถึงเมื่อวาน พื้นที่การเกษตรกว่า 48 ล้านไร่ทั่วประเทศได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ประชาชน 24 ล้าน 4 แสน 5 หมื่นคน และฝูงปศุสัตว์ 15 ล้าน 8 แสน 4 หมื่นตัว เข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดได้ยากมากขึ้น  และแม้ว่าจะฝนตกลงมาบ้างในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก
และจากการประเมินสภาพอากาศจนถึงปัจจุบัน ดูเหมือนว่า จะยังไม่มีฝนตกหนักในพื้นที่ก่อนวันที่ 20 เดือนหน้า พร้อมกันนั้นรัฐบาลกลางก็เตือนให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้งระยะยาว
นอกจากนั้น ก็ยังปฏิเสธเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่บอกว่าการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในเขตทางตะวันตกเฉียงใต้ เป็นตัวเร่งปัญหาภัยแล้ง โดยชี้ว่าปัญหาภัยแล้ง แสดงว่าโครงการกักเก็บน้ำยังไม่เพียงพอ และรัฐบาลจะขยายโครงการเหล่านี้ออกไปอีก
วอนจีน-ลาวปล่อยน้ำสู่ตอนล่างช่วงฤดูแล้ง
 แหล่งข่าวจากมูลนิธิน้ำและคุณภาพชีวิต เปิดเผยว่า สาเหตุที่น้ำโขงแห้ง ต้องยอมรับว่า ส่วนหนึ่งมาจากจีนที่กั้นเขื่อน แต่จากข้อมูลที่ปรากฎ พบว่าน้ำต้นทุนที่ไหลเข้าแม่น้ำโขง ที่อยู่ในเขตของประเทศจีน มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 16 เท่านั้น ขณะที่ สปป.ลาว มีสัดส่วนถึงร้อยละ 35 และสาเหตุที่ทำให้แม่น้ำโขงตอนล่างแห้งขอด ก็เนื่องมาจากขณะนี้ลาวได้ทำการสร้างเขื่อนจำนวน 8 แห่ง มีการกักเก็บน้ำแล้ว 4 แห่ง อาทิ เขื่อนน้ำงึม เขื่อนน้ำซอง เขื่อน้ำเทิน-หินบู แม่น้ำเหล่า ซึ่งถือเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงที่จันได้กักเก็บน้ำไว้ เมื่อถึงหน้าแล้ง จีนไม่ปล่อยน้ำลงมา ขณะที่ลาวก็เริ่มกักเก็บน้ำ เมื่อน้ำด้านบนถูกเก็บ ทำให้ลุ่มน้ำโขงตอนล่างประสบปัญหาภัยแล้ง
 แหล่งข่าวยังระบุด้วยว่า ขณะนี้จีนได้งดเดินเรือขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว เนื่องจากว่าอยู่ในช่วงการระเบิดสันดอน เพื่อเปิดทางเดินเรือได้สะดวก พร้อมกับกำหนดว่า ในวันที่ 1 พ.ค.จึงจะสามารถเดินเรือจากเมืองเชียงรุ้ง ประเทศจีน มายัง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ได้
 "นับจากนี้ต่อไปอีก 3 ปี แม่น้ำโขงจะประสบปัญหาภัยแล้ง เพราะอยู่ในระหว่างการสร้างเขื่อน ทั้งในจีนและลาว เมื่อกักเก็บน้ำเต็มเขื่อนเพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้แล้วในอีก 3 ปีข้างหน้าแม่น้ำโขง จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เพราะเขื่อนต่างๆ ทั้งในลาวและจีนสร้างแล้วเสร็จ ดังนั้น การที่น้ำโขงแห้งจะไปโทษจีนฝ่ายเดียวก็ไม่ได้"
 แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ในการประชุมเอ็มอาร์ซี ตนหวังเพียงว่ารัฐบาลไทยในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเอ็มอาร์ซีจะขอความร่วมมือไปยังประเทศจีน และลาวที่สร้างเขื่อนกักน้ำโขงและลำน้ำสาขา ให้ปล่อยน้ำลงสู่น้ำโขงตอนล่างในช่วงฤดูแล้ง ทั้งนี้เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
อีสานตอนล่างแล้งหนักประกาศพื้นที่ประสบภัย61อำเภอ
 นายวัลลภ เทพภักดี ผอ.ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 นครราชสีมา เปิดเผยว่า ในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ ปภ.เขต 5 รวม 4 จังหวัดคือ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ มีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากภัยแล้งทั้ง 4 จังหวัด รวม 61 อำเภอ431 ตำบล 5,094หมู่บ้านราษฎรได้รับผลกระทบ  454,820 ครอบครัว 1,724,300 คน
 ส่วนความเสียหายเบื้องต้นพื้นที่การเกษตร นาข้าวเสียหาย 13,001 ไร่ พืชไร่  3,546  ไร่  พืชสวน 2,581 ไร่ โดยทางศูนย์ฯ ได้ให้การช่วยเหลือนำรถบรรทุกน้ำ จำนวน 183 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภค-บริโภค จำนวนกว่า 2,400 เที่ยว ปริมาณกว่า 17,679,500 ลิตร นอกจากนี้ ยังได้เตรียมนำรถขุดดินไปขุดบ่อน้ำให้กับประชาชนเพื่อไว้กักเก็บน้ำหากมีการร้องขอ ส่วนความเสียหายนั้นอยู่ในระหว่างการสำรวจของเจ้าหน้าที่
นพค.56ตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยช่วยเหลือ
 พ.อ.ธนภัทร ภูยานนท์  ผบ.นพค.56 กล่าวว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค รวมทั้งน้ำทำการเกษตรของประชาชนใน จ.อุบลราชธานี ประชาชนได้รับผลกระทบทุกปี สำหรับปีนี้ทางจังหวัดได้ประกาศให้ ทั้ง 25 อำเภอ 165 ตำบล 1,756 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 162,207 ครัวเรือน จำนวน 660,235 คน นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่พืชไร่และพืชสวนของเกษตรกรได้รับความเสียหายไปแล้วกว่า 60 ไร่ โดยเฉพาะวัด โรงเรียนขาดแคลนน้ำบริโภค รวมทั้งหมู่บ้านที่อยู่ในถิ่นกันดารห่างไกล ขาดแคลนน้ำทำการเกษตร ลำห้วยแต่ละแห่งที่เคยมีน้ำไหลตลอดทั้งวันเริ่มแห้งลง บางพื้นที่สามารถเดินข้ามได้
 สำหรับการให้ความช่วยเหลือ และเพื่อให้ทันต่อความเดือดร้อนของประชาชน ทางหน่วยฯ จึงได้จัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งขึ้นที่กองบังคับการหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 56 สำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา บ้านบก ต.กลาง อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี โดยจัดรถบรรทุกน้ำ 3 คัน และกำลังพลออกเป็น 3 ชุด  โดยออกแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง โดยในช่วงเดือน ก.พ.-พ.ค.53 ปริมาณน้ำที่จะต้องแจกจ่ายถึง 9 แสนลิตร ขณะนี้ได้ทยอยแจกจ่ายไปบ้างแล้ว
 นอกจากนี้ ยังได้มีการแจกจ่ายถังน้ำไฟเบอร์กลาส บรรจุน้ำได้  3,000 ลิตร ให้กับทางโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี วัด โรงเรียนที่ได้รับผลกระทบไม่มีภาชนะกักเก็บน้ำบริโภค เพื่อรองรับน้ำดื่มน้ำใช้ สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี
 ผบ.นพค.56ฯ กล่าวอีกว่า นอกจากการแจกจ่ายน้ำดื่มน้ำใช้แล้ว ยังได้ทำการขุดสระเก็บน้ำให้กับหมู่บ้านที่มีปัญหารุนแรงประสบภัยแล้งซ้ำซากอีกหลายหมู่บ้าน พร้อมทั้งสร้างระบบประปาหมู่บ้าน ในพื้นที่ อำเภอโขงเจียม และได้นำชุดเจ้าหน้าที่ชุดขุดเจาะน้ำบาดาล ของสำนักงานพัฒนาภาค 5 ออกดำเนินการขุดเจาะน้ำบาดาลให้กับราษฎร  บ้านรุ่งตะวัน หมู่ 9 ต.ตาเกา อ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับราษฎรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง 190  ครัวเรือน ทางหน่วยฯ ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหามาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่เพียงพอ พร้อมกันนี้ยังไม่จัดชุดพัฒนาการเคลื่อนที่ ออกให้บริการทางการแพทย์ แจกจ่ายยาเวชภัณฑ์ ตรวจรักษาโรค ให้กับราษฎรในเบื้องต้น
 อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่ผ่านมาพายุฝนได้ตกลงมา ทำให้พื้นที่ดินที่แห้งแล้งเกิดความชุ่มชื้นได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ยังเป็นปัญหาเช่นเดิม เนื่องจากฝนที่ตกลงมายังไม่สะอาดเพียงพอต่อการบริโภคของราษฎร ทั้งนี้ หากราษฎรในหมู่บ้าน ตำบลใด ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค สามารถร้องขอความช่วยเหลือมายังหน่วยงานได้ทันทีที่หมายเลข 085-9192996 หรือ 045-8666661 เพื่อที่จะได้นำรถบรรทุกน้ำออกไปแจกจ่ายช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าวต่อไป
รองผวจ.สุราษฎร์ส่งจนท.บินสำรวจ
 นายจิรวัชร์ สิงห์ดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นเฮลิคอปเตอร์กองทัพอากาศ(กองบิน 7) บินสำรวจพื้นที่ประสบภัยแล้ง ในเขตอำเภอเมือง บ้านนาสาร พุนพิน และอำเภอไชยา ที่ผ่านมาพบว่าจนถึงขณะนี้ ทั่วทั้งจังหวัดพบพื้นที่ประสบภัยแล้ง 8 อำเภอ 39 ตำบล 309 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อนขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 23,412 ครัวเรือน รวมกว่า 70,000 คน มูลค่าความเสียหายประมาณ 520,000 บาท
 ด้านการช่วยเหลือได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำน้ำอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายให้กับราษฎรแล้วจำนวน 6,704,051 ลิตร แจกจ่ายน้ำเพื่อการเกษตร 262,000 ลิตร พร้อมกับให้เจ้าหน้าที่เร่งสำรวจพื้นที่ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง แม้เริ่มมีฝนตกลงมาบ้างแล้ว แต่ปริมาณน้ำฝนยังค่อนข้างเบาบาง แต่อย่างไรก็ตามในภาพรวมยังไม่น่าเป็นห่วงและคาดว่าสถานการณ์น่าจะคลี่คลายในเร็วๆ นี้
 รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังกล่าวขอให้ประชาชนได้ใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่าในระยะนี้ พร้อมกับขอให้ทุกพื้นที่ได้เฝ้าระมัดระวังในเรื่องของการเกิดอัคคีภัยหรือไฟป่า และระมัดระวังในเรื่องของการเผาหญ้าในพื้นที่เรือกสวนไร่นาของเกษตรกร เพราะอาจลุกลามก่อให้เกิดความเสียหายได้
 








ข่าวที่เกี่ยวข้องโพลล์ชี้ปชช.หนุนรบ.-เสื้อแดงเจรจายุติปัญหา "มาร์ค"ยันเยือนบาห์เรนประสบผลสำเร็จ บางคล้าแหล่งกำเนิดข้าวหอมมะลิไทยลดต้นทุนการทำนา

จ.ม.ถึงผู้แทน
ถึงคุณสุวิทย์


NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive